- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. จัดเวทีสุขภาพ “คุยเรื่องเหล้า จากคำบอกเล่าของหมอ”
คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. จัดเวทีสุขภาพ “คุยเรื่องเหล้า จากคำบอกเล่าของหมอ” ผลวิจัยชี้! ดื่มเหล้า เสี่ยงตับแข็ง 14-73% เปิดสถิติห้องฉุกเฉิน 50% มีค่าแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกฎหมายกำหนด หนุน SDGs ชวนบุคลากร-ประชาชน ลดดื่ม ลดเสี่ยง
เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2567 ผศ.นพ.กิตติพงศ์ เรียบร้อย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวในงานเวทีสุขภาพ “คุยเรื่องเหล้า จากคำบอกเล่าของหมอ” เพื่อสร้างความตระหนักในพิษภัยจากการดื่มเหล้าทั้งในมิติทางสุขภาพและสังคมว่า ค่านิยมสังคมไทยที่มีต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบกับบริบททางสังคมที่มีแนวคิดเสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) ทั้งในสังคมไทย และที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ อาจนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดแนวคิดเชิงบวกต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อภาพยนตร์และสื่อโซเชียลต่าง ๆ หากมองในแง่การขับเคลื่อนงานป้องกันและควบคุมปัญหาเหล้าระดับประเทศเพื่อความยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลาน จึงไม่อาจเลี่ยงความจริงที่ว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นับเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ตามกรอบขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักถึง 13 ใน 17 เป้าหมาย ส่งผลเสียต่อการพัฒนาทั้งมิติทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หลักฐานทางวิชาการทั้งในประเทศและทั่วโลกชี้ชัดว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าในรูปแบบใด ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างแน่นอน
รศ.พญ.ณัยชญา จำรูญกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาอายุรศาสตร์ หน่วยโรคระบบทางเดินอาหารและตับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า การดื่มสุราเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคตับ ซึ่งมีความรุนแรงของโรคที่หลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการ ไปจนถึงเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะตับแข็ง ตับวาย และมะเร็งตับ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกปี 2020 พบว่า มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับแรก โดยมีผู้ป่วยมะเร็งตับ 27,394 คน และเสียชีวิต 26,704 คน ข้อมูลในไทยจากหลายการศึกษารายงานว่า การดื่มสุราเป็นสาเหตุของการเกิดตับแข็ง 14-73% สำหรับภาวะอื่นๆ ของโรคตับที่สัมพันธ์กับการดื่มสุรา เช่น ภาวะตับคั่งไขมัน (alcoholic fatty liver disease) หรือภาวะตับอักเสบเรื้อรัง การคาดคะเนอุบัติการณ์ทำได้ยาก เนื่องจากความรุนแรงของอาการต่ำจนถึงไม่มีอาการในบางราย จึงทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่ามีการเจ็บป่วยอยู่ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ ในการซักประวัติคัดกรองผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลของเราว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับที่สัมพันธ์ต่อการดื่มสุราหรือไม่
“การดื่มสุรายังมีผลต่อระบบการย่อยอาหารมีความผิดปกติในการบีบตัว การทำงานของลำไส้ และทำให้ความสามารถในการป้องกันเชื้อโรคเสื่อมลง และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากมะเร็งตับอีกด้วย ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือลดการดื่มเหล้าได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งลดความเสี่ยงในการเกิดโรคของระบบทางเดินอาหารและตับมากขึ้นเท่านั้น” รศ.พญ.ณัยชญา กล่าว
นพ.ไวณิก สุขมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากการวิจัยที่รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินตั้งแต่ปี 2549-2567 ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ พบว่า จากการส่งตรวจค่าแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ป่วยทั้งหมด ประมาณครึ่งหนึ่งมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด และยิ่งระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่สูงขึ้น ยิ่งมีแนวโน้มทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น จึงสรุปได้ว่า การดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มสัมพันธ์กับอัตราการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอย่างชัดเจน ซึ่งการสวมหมวกนิรภัยสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ
You must be logged in to post a comment Login