วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567

สจล. เปิดเวทีแข่งขันนวัตกรรมในงาน KMITL Future Innovator 2024 ขับเคลื่อนชุมชนและสังคมสู่ความยั่งยืน

On September 3, 2024

เมื่อเร็วๆ นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  และ ดร.สุมาลี อุทัยเฉลิม กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเปิดงาน KMITL Future Innovator 2024 ธีม “นวัตกรรมขับเคลื่อนชุมชนและสังคมสู่ความยั่งยืน” Innovation Drives Communities and Society Towards Sustainability. ต่อยอดแนวคิดการพัฒนาสู่ความยั่งยืนจาก KMITL Innovation Expo 2024

 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ในการพระราชทานโล่รางวัลชนะเลิศสำหรับกิจกรรมในงานด้วย 

ในงานนี้ มีการจัดการประกวด 4 รายการด้วยกัน ได้แก่ การประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี ระดับประเทศครั้งที่ 12 ซึ่งจัดโดย วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ การประกวดแข่งขันแนวคิดนวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต: Pitching ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเกษตรในอนาคต สำหรับสังคมคาร์บอนต่ำ ลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน”โดยคณะเทคโนโลยีการเกษตร การประกวดแข่งขัน Arduino Explore IoT Kit Hackathon 2024 : Innovation to drive Zero Waste of BCG Economy ภายใต้แนวคิด “การออกแบบสร้างนวัตกรรมรักษาโลกใบนี้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (IoT)”

โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับสถาบันพัฒนาทักษะดิจิทัลและการสร้างนวัตกรรม (iMake) 

งานนี้มีน้อง ๆ ระดับมัธยมศึกษาและระดับ ปวช. จากโรงเรียนและวิทยาลัยทั่วประเทศ กว่า 300 แห่ง เข้าร่วมส่งผลงานเข้าประกวด

ในโครงการนี้ยังมีการประกวดแข่งขันแนวคิดนวัตกรรม (Pitching) ในกิจกรรม Krungsri UniVerse x KMITL Hackathon: Innovating for a Sustainable Future โดยคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จัดแข่งขันในระดับอุดมศึกษา โดยจัดประกวดไปก่อนหน้านี้แล้ว

ในแต่ละการประกวดได้รับเกียรติจากวิทยากร Mentor และคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าร่วมตัดสินให้รางวัลกันแบบถึงแก่นเพื่อเฟ้นหาทีมที่จะมาเป็นนวัตกรในอนาคตในนาม สจล.ตามนโยบายการสร้างประชากรให้สร้างสรรค์นวัตกรรมสู่เวทีระดับโลก The World Master of Innovation

นอกจากนี้ยัง มีการออกบูธหน่วยงานที่น่าสนใจ ได้แก่ 4 หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร และวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ อีกทั้งยังมีบูธหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ รวมถึงบูธชุมชนลาดกระบังอีกด้วย

โดยมีนักเรียน นักศึกษา และ บุคคลทั่วไป ให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน

ผลรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ การประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี ระดับประเทศครั้งที่ 12 แบ่งเป็น 5 ประเภทรางวัล 2 ระดับ ได้แก่ 

ระดับมัธยมศึกษา 

– ประเภทนวัตกรรมเชิงพาณิชย์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

ผลิตภัณฑ์ทรายแมว จากชานอ้อยผสมซิงค์ออกไซด์วัสดุอินทรีย์ทางเลือก เพื่อการจัดตัวกับก้อนอุจจาระ และดูดซับปัสสาวะแมว ควบคุมกลิ่น ทดแทนเบนโทไนท์

– ประเภทนวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์

โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา

การศึกษาผลของซิงค์ออกไซด์ (ZnO)เพื่อเตรียมวัสดุดูดซับน้ำมันจากโฟมยางคอมโพสิตด้วยเสนใยธรรมชาติ

– ประเภทนวัตกรรมส่งเสริมด้านเกษตรกรรม

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

การผลิตไฮโดรเจลTrichoderma asperellum ยับยั้งเชื้อ Pythium delicense ก่อโรคโคนเน่าระดับคอดินของแตงกวา

– ประเภทนวัตกรรมเชิงสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชยงราย

การพัฒนาวัสดุรูพรุนจากโฟมยางที่ผสมคาร์บอนแบล็คเพื่อดูดซับโลหะและสีย้อม

– ประเภทนวัตกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

โรงเรียนสตรีพัทลุง

การพัฒนาสูตรดินปั้นจากเปลือกทุเรียนและแป้งสาคูสำหรับการทำผลิตภัณฑ์หัตกรรมลูกปัดมโนราห์แบบดั้งเดิมด้วยการเสริมอนุภาคนาโนซิงค์ ออกไซด์และอนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์

ระดับอุดมศึกษาและบุคคลทั่วไป

– ประเภทนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี

คณะทันตแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เอ็มดีไลท์ ฟิงเกอร์ รูท มอยส์เจอร์ สเปรย์ MDlight FINGER ROOT Moisturizing Spray

ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานฯ การประกวดแข่งขันแนวคิดนวัตกรรมการเกษตรเพื่ออนาคต: Pitching ได้แก่ 

ทีม : เขามาเหนือ เรามาจากใต้

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ผลงาน : นวัตกรรมเครื่องควบคุมการพ่นโอโซนแบบพกพา เพื่อยับยั้งเชื้อรา Phytophthora palmivora สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนไทย

รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานฯ การประกวดแข่งขัน Arduino Explore IoT Kit Hackathon 2024 : Innovation to drive Zero Waste of BCG Economy ได้แก่ 

ทีม Wisdom of The APES 

โรงเรียนทวีธาภิเศก ในชื่อผลงานเครื่องคัดแยกและทิ้งขยะอัตโนมัติ จาก Arduino IoT ร่วมกับ Image Processing เป็นเครื่องคัดแยกขยะอัตโนมัติ 3 ประเภท โดยใช้ เซนเซอร์ตรวจจับโลหะ ร่วมกับ Image Processing ในการจำแนกขยะ และเก็บสถิติการทิ้งขยะบน Cloud Database พร้อมทั้งแจ้งเตือนผ่าน Gmail เมื่อขยะเต็ม

รางวัลชนะเลิศ ผลการประกวดแข่งขันแนวคิดนวัตกรรม (Pitching) Krungsri UniVerse x KMITL Hackathon: Innovating for a Sustainable Future ได้แก่

ทีม: MMAT 

ผลงาน : NongPrim AI ระบบAIตรวจจับและป้องกันมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ ด้วยเทคนิคAuto Speech Recognition

ติดตามความเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ทาง https://www.facebook.com/kmitlofficial   และเว็บไซต์ https://www.kmitl.ac.th และติดตามรายละเอียดหลักสูตรที่เปิดสอนได้ที่  https://curriculum.kmitl.ac.th/  หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8000


You must be logged in to post a comment Login