- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
อัยการชี้คนเมาแล้วขับทำผิดซ้ำซากต้องลงโทษหนักเพื่อปรับเปลี่ยนบริบทของสังคม
จากชีวิตของนักแสดงหนุ่มคริสโตเฟอร์ เบญจกุล ที่กำลังสดใส ต้องกลายมาเป็นคนพิการ เพราะที่ถูกตร.เมาแล้วขับชน คริสไม่เคยได้รับการช่วยเหลือใดๆจากคู่กรณี ดังที่เป็นข่าวดังในช่วงนั้น จนถึงวันนี้คริสกลายเป็นคนพิการที่ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพตัวเอง เคสของคริส ไม่ใช้เคสแรกและเคสสุดท้าย เพราะทุกวันนี้ยังมีคนที่เมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นทุกวัน ทั้งที่เป็นข่าวและไม่เป็นข่าว แล้วคนที่เมาแล้วขับกระทำผิดซ้ำซาก กฎหมายควรจะจัดการกับคนกลุ่มนี้ได้อย่างไร
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศาลยุติธรรม กรมคุมประพฤติ มูลนิธิเมาไม่ขับ เครือข่ายเหยื่อเมาไม่ขับ ภาคีเครือข่ายด้านการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุเมาแล้วขับของไทย จัดกิจกรรม “ครบรอบ 2 ปี กระทำผิดซ้ำเมาแล้วขับ กับ การบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย” ยกระดับการลดอุบัติเหตุทางถนนจากการดื่มแล้วขับไทยร่วมกับภาคีเครือข่าย
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุคือ ความเร็ว และเมาแล้วขับ ที่ผ่านมา สสส.ทำงานกับภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งภาคีต่างๆเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี เพิ่มความเข้มข้นในการทำงานเป็นระดับ
อุบัติเหตุทางถนนจาก “ดื่มแล้วขับ” เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ โดยข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของไทย จากกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2562-2566 มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากดื่มแล้วขับ 284,253 ราย เฉลี่ยปีละ 56,850 ราย มูลค่าความสูญเสีย 3.7 แสนล้านบาท โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เฉลี่ยถึง 4,519 ราย ผลกระทบสำคัญคือ “เหยื่อจากผู้ดื่มแล้วขับ” มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 มีเหยื่อจากผู้ดื่มแล้วขับ มากถึง 207 ราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 1 ราย จำเป็นต้องเร่งมาตรการตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่ครอบคลุม และลงโทษผู้กระทำความผิดโดยเฉพาะความผิดซ้ำ สสส. ร่วมกับภาคี สร้างเครือข่ายขับเคลื่อน ทั้งในระดับนโยบาย และรณรงค์ในพื้นที่ ผลักดันข้อกฎหมายดื่มแล้วขับ และกระทำผิดซ้ำ บูรณาการทำงานทุกภาคส่วนวิเคราะห์หาสาเหตุ ที่สามารถเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มข้นได้ในอนาคต
ทั้งนี้การให้ความรู้เพียงอย่างเดียวมันไม่เพียงพอ ยังต้องอาศัยบริบทของสังคมมาช่วยในการเปลี่ยนถ่ายสังคม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการบังคับใช้กฎหมายตามลำดับ โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการมุ่งเป้าไปยังการกระทำความผิดเมาแล้วขับซ้ำ ทำให้เราเรียนรู้ว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นมีข้อจำกัดใดบ้าง และจะต่อยอดอย่างไรเพื่อที่จะมาลดพฤติกรรมการดื่มของคนไทย
“สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายถอดบทเรียน โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย ออกเป็น 3 ระยะ 1. ระยะสั้น ภายใน 6 เดือน ออกแบบระบบตรวจสอบและประชาสัมพันธ์ สนับสนุนให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประสานหน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรมออกแบบระบบออนไลน์ที่เชื่อมโยงกัน ตรวจสอบประวัติกระทำผิดซ้ำ ประชาสัมพันธ์ผลการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง 2. ระยะกลาง ภายใน 1 ปี ผลักดันด้านเทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แก่ เครื่องเป่าวัดแอลกอฮอล์อย่างน้อย 15,000 เครื่อง พัฒนาระบบการตรวจสอบ และยืนยันบุคคลผ่านลายนิ้วมือออนไลน์ทั่วประเทศ 3. ระยะต่อเนื่อง มากกว่า 1 ปี ผลักดันเพิ่มโทษสร้างความเกรงกลัวไม่ให้กล้ากระทำผิดซ้ำ สนับสนุนให้มีการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี นำปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายที่ตรวจวัดได้ในแต่ละระดับมาเป็นบทกำหนดโทษที่ผู้กระทำความผิดได้รับ” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
นายสุรสิทธิ์ ศิลปงาม ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า เรื่องเมาแล้วกลับตนมองว่าเป็นเรื่องเก่าที่ตนผลักดันมาโดยตลอดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งตอนนั้นตนยังทำงานเป็นผู้สื่อข่าวอยู่ตอนนั้นยังเมาแล้วขับเป็นประจำอันนี้ยอมรับ เมื่อเจอคุณหมอแท้จริงเวลาที่ไปทำข่าว ทำให้เราเปลี่ยนความคิดและได้มาช่วยงานคุณหมอแท้จริง เราเห็นความสูญเสียแต่จะบอกว่าตอนที่ผลักดันกฎหมายนั้นเหนื่อยมาก บอกได้เลยตอนนั้นไม่มีตำรวจคนไหนเอากับเรื่องนี้เลย จะมีแค่จราจรกลางหน่วยเดียวที่เอากับเรื่องนี้ ยิ่งในพื้นที่ที่มีสถานบันเทิงมากๆไม่มีตำรวจคนไหนเอาด้วย ใช้เวลากว่า 2 ปี ถึงจะมีการเริ่มรณรงค์เมาไม่ขับ และในปี 2541 เริ่มมีการบังคับใช้กฎหมายและมีสื่อให้ความสนใจมาทำข่าวในการตั้งด่านเมาแล้วขับเป็นจำนวนมาก
นายสุรสิทธิ์ กล่าวว่า ในแต่ละปีจะมีเหยื่อจากเมาแล้วขับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงเทศกาล หลายราย สูญเสียอวัยวะ เสียโอกาสในการดำเนินชีวิตที่สำคัญ ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเรียกร้องความเป็นธรรมเพื่อเยียวยาผลกระทบที่ตนเองไม่ได้ก่อ เหยื่อหลายรายไม่ได้รับเงินเยียวยา ถึงเวลาต้องวางแนวทาง ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากดื่มแล้วขับที่จะได้รับการเยียวยาอย่างเป็นธรรม กฎหมายเมาแล้วขับกระทำผิดซ้ำในปัจจุบันบังคับใช้มาไม่ต่ำกว่า 2 ปี แต่ยังไม่สามารถสร้างความเกรงกลัวให้กับ ภาคประชาชน ยังมีผู้กล้ากระทำผิดซ้ำ การเพิ่มโทษ และความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมายเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ที่เคยกระทำผิดเมาแล้วขับ ไม่กล้าเสี่ยงและรับโทษที่รุนแรง
“การแก้ปัญหาอุบัติเหตุดื่มแล้วขับต้องเสริมด้วยระบบการจัดการ และการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้น มีเจ้าภาพหลักที่ค่อยกำกับตรวจสอบอย่างต่อเนื่องจนเกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความเกรงกลัวในการกระทำผิดกฎหมาย” ประกอบด้วย 1. ไม่รอดในการจับกุมเมื่อกระทำผิด 2. ต้องถูกลงโทษหนักในทุกครั้งทุกกรณี ปัจจุบัน “กฎหมายเมาแล้วขับกระทำผิดซ้ำ” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่มีการบังคับใช้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี และถึงเวลาที่ต้องยกมาตรการให้เข้มข้นเพิ่มขึ้น ด้วยระบบการจัดการและเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็ว เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดื่มของสังคมไทย สำหรับกฎหมายเมาแล้วขับการกระทำความผิดซ้ำนั้นตนมองว่า เมื่อทำความผิดครั้งแรกแล้วศาลให้โอกาสตนมองว่าเป็นเรื่อง แต่ถ้ามากระทำผิดซ้ำอีกไม่ควรให้โอกาส จึงอยากให้ผู้ที่มีอำนาจช่วยกันผลักดันบังคับใช้ เพราะที่ผ่านมายังมีคนที่กระทำผิดเมาซ้ำยังไม่ถูกลงโทษอยู่ และยังมีช่องว่างของกฎหมายอีก ซึ่งในเวทีนี้จะทำให้เห็นว่า เราจะอุดช่องโหว่ของกฎหมายได้อย่างไร” นายสุรสิทธิ์ กล่าว
ดร.ชนินทร์ จักรภพโยธิน วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ในการเพิ่มโทษหรือคุมประพฤติแก่ผู้ที่กระทำผิดซ้ำดื่มแล้วขับแล้วขับ ควรให้มีการนำระบบ Alcohol interlock เข้ามาเป็นเงื่อนไขการคุมประพฤติควบคู่กับการรอการลงโทษ เป็นเครื่องมือช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถสตาร์ทรถได้ หากผู้ขับมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายระดับที่สูงกว่าจะปลอดภัยในการขับรถ โดยผู้ขับขี่จะต้องเป่าลมเข้าไป ก่อนจะสตาร์ทรถทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถขับรถได้ และนำอุปกรณ์ Alcohol interlock มาใช้กับผู้ขับขี่รถยนต์โดยสาร รถขนส่ง ทุกรูปแบบที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ ตลอดจนให้ทำความเข้าใจบทบัญญัติกฎหมายในเรื่องการกระทำผิดซ้ำดื่มแล้วขับ เจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรานี้ และพิจารณาให้มีระบบเปิดเผยข้อมูลประวัติกระทำผิดซ้ำออนไลน์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบบุคคลได้
นอกจากนี้การทำเทคโนโลยีไร้คนขับเข้ามา จะทำให้รถที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติหมดปัญหาเรื่องเมาแล้วขับ ก็น่าจะเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเมาแล้วขับ
ด้าน นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า สำนักงานคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือเหยื่อเมาแล้วขับในการเรียกร้องความเป็นธรรมตามคำสั่งศาล ซึ่งมีหน่วยงานอยู่ทั่วประเทศ พร้อมทำงานสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในส่วนของกระบวนการในการพิจารณาคดีกระทำผิดซ้ำ ต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อกำหนดกระบวนการที่ชัดเจน และไม่ปล่อยให้คนที่กระทำผิดซ้ำ หลุดออกจากการพิจารณาคดี และสิ่งสำคัญต้องเร่งสร้างเรื่องนี้ให้เป็น “สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม”
นายโกศลวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้บังคับบัญชาต้องสนับสนุนข้อมูลที่รวดเร็วไปยังสถานีตำรวจต่างๆ และตำรวจที่ทำคดีถ้าได้ประวัติการกระทำผิดซ้ำ ขอความกรุณาว่า ถ้ากระทำผิดซ้ำและมีพฤติกรรมอื่นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จับกุมควรให้ข้อมูลกับร้อยเวร และให้ร้อยเวรเขียนข้อมูลเพิ่มเติมส่งให้อัยการ อัยการจะได้ดูและบรรยายเขียนฟ้องเป็นการทำความผิดซ้ำที่ร้ายแรง เป็นปัญหาความรุนแรงต่อสังคม และส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไร และขอให้ศาลลงโทษสถานหนัก ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่อัยการเขียนได้ เราจะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ นโยบายรัฐบาลมันคือแค่ตัวหนังสือ แต่ความสำเร็จที่จะไปถึงตรงนั้น ตำรวจและอัยการเรามาร่วมมือกัน เพื่อส่งสารตรงนี้ไปให้ศาลท่านได้อ่าน พิจารณาท่านจะได้เห็นถึงความร้ายแรงของปัญหาและลงโทษจำเลยสถานหนัก ตนมองว่าถ้าลงโทษสถานหนักจะสามารถปรับเปลี่ยนบริบทของสังคมได้
You must be logged in to post a comment Login