- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
สสส. เปิดเวทีวันผู้สูงอายุสากล “สูงวัย ยังไปต่อ (Older not Over)”
สสส. เปิดเวทีวันผู้สูงอายุสากล “สูงวัย ยังไปต่อ (Older not Over)” สูงวัยอย่างมีศักดิ์ศรี รับมือแนวโน้มคนไทยก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น พบปัญหาสุขภาพ โรค NCDs รุม -รายได้น้อยเร่งสร้างพื้นที่สุขภาวะดี 4 มิติ ดัน พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม สู่การเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ พร้อมส่งต่อพลังบวกให้กับคนทุกช่วงวัย
เวลา 09.00 น. วันที่ 1 ต.ค. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเนื่องในวันผู้สูงอายุสากล 2567 “สูงวัย ยังไปต่อ (Older not Over)” ภายใต้แนวคิด “Ageing With Dignity สูงวัยอย่างมีศักดิ์ศรี” โดยมีภาคีเครือข่ายผู้สูงอายุเข้าร่วมกว่า 500 คน กรมกิจการผู้สูงอายุ สมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกันสานพลังสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้สุขภาวะของผู้สูงอายุและครอบครัวในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทุกช่วงวัย
นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ไทยเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปี 2548 และมีแนวโน้มประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลปี 2566 มีผู้สูงอายุกว่า 13 ล้านคน หรือ 20% ของประชากรไทยทำให้ไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ และคาดการณ์ว่าในปี 2578 จะมีผู้สูงอายุ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด สอดคล้องกับผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 12% และอยู่ลำพังกับคู่สมรส 21.1% ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความเปราะบางต่อปัญหาต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต และปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะปัญหาจากโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs ที่มีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รวมถึงครอบครัวที่ดูแลผู้สูงอายุด้วย
“กิจกรรมในครั้งนี้ สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้สูงอายุ ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้ง 4 มิติ คือ 1.มิติสุขภาพ 2.มิติเศรษฐกิจ 3.มิติสังคม 4.มิติสภาพแวดล้อม ผ่านกิจกรรมเปิดพื้นที่เพลินวัย 4 เพลิน ได้แก่ เพลินกาย-ใจ, เพลินชีวา, เพลินทำ และเพลินอารมณ์ เพื่อให้มีพื้นที่สาธารณะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้ไม่รู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง เกิดความภาคภูมิใจเห็นคุณค่าในตนเอง ช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ยาวนานที่สุด รวมถึงสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุให้กับคนทุกกลุ่มในสังคม ต่อยอดสู่การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุให้ดีรอบด้าน และครอบคลุมทุกพื้นที่ในระยะต่อไป” นางภรณี กล่าว
ดร.ณปภัช สัจนวกุล ผู้แทนคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) กล่าวว่า ประชากรไทยกำลังเผชิญหน้ากับการสูงวัยอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจากการคาดประมาณประชากรโลกของสหประชาชาติประจำปี 2567 แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 22 % ของประชากรทั้งหมดในปี 2567 เป็น 36.1% ในปี 2593 นอกจากนี้ สัดส่วนของผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป จะเพิ่มจาก 3.3% ในปี 2567 เป็น 10.6% ภายในปี 2593 การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนถึงความจำเป็นและความเร่งด่วนในการพัฒนาระบบการดูแลและสนับสนุน ผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลอย่างเข้มข้น จำเป็นต้องสร้างและพัฒนาระบบการดูแลเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี โดยได้รับการสนับสนุนจากระบบการดูแลที่ครอบคลุม สามารถเข้าถึงได้และสอดคล้องต่อความจำเป็นในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
“ESCAP ส่งเสริมภาคส่วนต่างๆ โดยสนับสนุนความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาล มีภาคประชาสังคม และผู้สูงอายุ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการดูแลผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม ตอบสนองความจำเป็น และปรับตัวให้ทันกับความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคตโดยแนวคิด การสูงวัยอย่างมีศักดิ์ศรี (ageing with dignity) ถือเป็นการเชื่อมโยงกับแนวทางการส่งเสริม การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม(ageing in place) โดยให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่อาศัยในบ้านและชุมชนของตนเองได้อย่างอิสระ และเชื่อมโยงผู้สูงอายุกับเครือข่ายทางสังคมเดิม พร้อมทั้งเสริมสร้างระบบการดูแลในชุมชน เพื่อลดความจำเป็นในการดูแลแบบสถานพยาบาล และยังส่งเสริมความสัมพันธ์คนหลายรุ่นวัย ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างสังคมที่ให้เห็นความสำคัญกับศักดิ์ศรีและสิทธิของผู้สูงอายุ” ดร.ณปภัช กล่าว
นายทวาย คงคา ตัวแทนภาคีเครือข่ายผู้สูงอายุ กล่าวว่า ผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยมักคิดว่าตนเองเป็นภาระให้กับผู้อื่น อาจจะรู้สึกว่าชีวิตของตนเองนั้นด้อยค่า ส่งผลให้เผชิญกับความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและแยกตัวจากสังคม รวมถึงปัญหาสุขภาพตามมาด้วย ดังนั้น การมีวันผู้สูงอายุสากล จึงถือเป็นวันสำคัญของผู้สูงอายุทั่วโลก และผู้สูงอายุทุกกลุ่มของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้เกี่ยวกับประชากรสูงอายุ การส่งเสริมสังคมในการพัฒนาระบบที่สนับสนุนผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์และมีความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ
“สสส. เปิดพื้นที่สนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ ได้ร่วมกันทำกิจกรรมเฉลิมฉลองงานวันผู้สูงอายุสากล โดยมีส่วนร่วมในกระบวนต่างๆ อย่างเท่าเทียม ภายใต้หลักคิดในการออกแบบวางแผนการจัดงานอย่างเข้าใจผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุเพื่อผู้สูงอายุเอง ทำให้เกิดการสร้างพื้นที่ทางสังคมอย่างเข้าใจ ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีค่า สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ตลอดจนเป็นพลังสำคัญของสังคมที่ทรงคุณค่าได้อย่างยั่งยืน” นายทวาย กล่าว
You must be logged in to post a comment Login