- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
“การสื่อสาร”ทำร้ายจิตใจและร่างกายได้จริงหรือไม่?
จากข่าวที่เภสัชกรคนหนึ่งฆ่าตัวตายเพราะปัญหาทางการทำงาน และการสื่อสารที่เป็นผลลบที่นำมาสู่การปลิดชีวิตตัวเองเป็นปัญหาที่สะท้อนให้สังคมเห็นว่า “การสื่อสารที่ดี” จะเป็นพลังบวกให้กับผู้รับและผู้ให้ แต่ในทางกลับกันถ้าการสื่อสารที่เป็นพลังลบอาจนำสู่ความเหงาและโดดเดี่ยวที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ
ในเดือนพฤศจิกายนปีนี้เป็นเดือนแห่งการฟังแห่งชาติที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและในโลก เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ธนาคารจิตอาสา ภาคีภาครัฐและเอกชน ได้เปิดตัวแคมเปญ“เดือนการฟังแห่งชาติ” หรือ “National Month of Listening”เพื่อกระตุ้นให้สังคม ครอบครัวเห็นถึงความสำคัญของการฟัง เพื่อเยียวยาปัญหาทางจิตใจของคนใกล้ตัว
“มีงานวิจัยความสัมพันธ์ทางสังคมกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตโดยการวิเคราะห์อภิมานโดย J.Holt -Lunstad และคณะ ในวารสารวิชาการ PLOS Medicine ระบุว่า อันตรายของความเหงาเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน หรือดื่มเหล้าวันละ 6 แก้ว และความเหงา ความโดดเดี่ยวยังเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน อาจนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การเสพติดสุรา บุหรี่ เสี่ยงป่วยโรควิตกกังวล ซึมเศร้า และสมองเสื่อม เรียกได้ว่าเป็นภาวะขาดความสัมพันธ์เชื่อมโยง(lack of social connection)”
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวถึงงานวิจัยที่พบว่าความเหงาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า และมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน
นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า สังคมในวันนี้มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้าง เพราะว่าเราขาดทักษะในการฟัง ซึ่งการฟังต่างจากการได้ยิน การฟังที่ต้องรับรู้ถึงความเข้าใจและจิตใจความรู้สึกของคนพูด และสามารถส่งต่อความสัมผัสให้เขา ให้เขารับรู้ได้ว่าเราฟังเขาอย่างจริงจัง ดังนั้นเมื่อสังคมได้เรียนรู้ทักษะของการฟังจะทำให้เข้าใจได้ว่าแต่ละคนมีความรู้สึกอย่างไร เช่น ในครอบครัวจะพบว่า แม่กับลูกมีความปรารถนาดีต่อกัน แต่บางครั้งลูกอาจมีจิตใจสำนึกที่ต้องการได้รับการยอมรับจากแม่ แต่แม่ก็อยากจะส่งต่อการสั่งสอนให้กับลูก แต่ลูกกลับไม่รู้สึกถึงการยอมรับจึงเกิดการโต้เถียงกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่แย่ ส่งผลให้เด็กอาจซึมเศร้า กระทบการเรียน หรืออาจติดยาเสพติดได้
ทั้งนี้ทักษะของการฟังที่ดี ต้องเป็นการฟังเราต้องพยายามที่จะเป็นผู้ให้ เป็นผู้ฟังอย่างตั้งใจอย่างไม่ตัดสิน ซึ่งส่วนหนึ่งของคนฟังจะเป็นผู้รับและเห็นใจผู้อื่น บางครั้งจะกลายเป็นความเข้าใจตนเอง เมื่อเข้าใจตนเองก็สามารถปรับตัวเองจะทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ส่งผลดีกับสุขภาพใน 4 มิติได้แก่ สุขภาพกาย ที่มีอาหารเป็นพลังงาน สุขภาพใจมีความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง สุขภาพสังคมมีการแบ่งกิจกรรมการทำงานร่วมกัน และสุขภาพปัญญา มีความเอื้ออาทร อยากให้ทุกคนมาแบ่งปันกัน และเยียวยาจิตใจซึ่งกันและกัน
“การกำหนดให้เดือน พ.ย. เป็นเดือนการฟังแห่งชาติ หรือ National Month of Listening ครั้งนี้ เป็นการจัดงานครั้งแรกของไทย และของโลก สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะทางปัญญา จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมได้เห็นถึงความสำคัญของการรับฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับตนเองและผู้อื่น ส่งเสริมให้มีศักยภาพและความสามารถในการบริหารจัดการความรู้สึกเหงาและความโดดเดี่ยวได้ รวมถึงการสนับสนุนให้มีพื้นที่การรับฟังที่หลากหลาย เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้เกิดสังคมสุขภาวะที่เกื้อกูลกัน สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้ฟรีมากกว่า 75 กิจกรรมทั่วประเทศ ในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดตลอดเดือน พ.ย. 67 สามารถติดตามรายละเอียดและเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ ความสุขประเทศไทย” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว
ด้าน ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ ผู้อำนวยการร่วมธนาคารจิตอาสา กล่าวว่า จากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 ปี 2567 โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ไทยมีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารับบริการเพิ่มขึ้น จาก 1.3 ล้านคน ในปี 2558 เป็น 2.9 ล้านคน ในปี 2566 ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2566 – 22 เม.ย. 2567 พบมีผู้เสี่ยงป่วยซึมเศร้า 17.20% มีความเครียดสูง 15.48% และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 10.63% หรือพบว่า 1 ใน 25 คนมีโอกาสที่จะเป็นผู้ป่วยจิตเวช
นอกจากนี้พบว่า ผู้สูงวัยต้องอยู่กับความเหงาและโดดเดี่ยว ส่วนวัยทำงานต้องเผชิญกับภาระงานที่หนักเกินไป ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดกิจกรรมและบทบาททางสังคม ล่าสุด เกิดกรณีเภสัชกรตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง เนื่องจากมีความกดดันในเรื่องการทำงาน สาเหตุจากหัวหน้างานไม่เคยเปิดใจรับฟัง ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทย โดยองค์กรนิวกราวด์ เคยระบุว่าของขวัญที่เด็กอยากได้จากผู้ใหญ่ คือการรับฟังและความเข้าใจ 25% มากกว่าการได้รับเงิน 11% ถึงสองเท่า
ส่วนการฟังอย่างลึกซึ้งและเป็นรูปธรรมที่แสดงให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็นชัดเจนว่าเขามีคุณค่า มีความสำคัญต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ประการคือ 1.การอยู่กับคนตรงหน้า 100% คือ เราจะไม่ทำงานไปด้วยฟังไปด้วย หยุดทุกภาระกิจแล้วฟังอย่างตั้งใจ 2.การรู้เท่าทันความคิดหรือเสียงในหัว แม้ว่าเราจะเห็นต่าง ไม่เชื่อ หรือสงสัย เราจะยังคงนิ่งและฟังต่อไปโดยไม่ขัดจังหวะหรือโต้แย้ง 3.การรับรู้-ใส่ใจความรู้สึกของผู้พูด เมื่อเรารับรู้อารมณ์ ความรู้สึกและความเป็นมนุษย์ของเขา จะเป็นประตูที่จะเชื่อมความเป็นมนุษย์ของเราเข้าหากัน
ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงศักยภาพที่ตัวเองมี คือ การฟังที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และเชื่อมโยงระหว่างกัน ซึ่งการฟังที่มีคุณภาพจะส่งผลให้เรารู้จักเข้าใจตัวเองและชีวิต เห็นความเชื่อมโยงระหว่างตัวเองกับผู้อื่น กับโลก และธรรมชาติ พร้อมร่วมกันสร้างสังคมที่เกื้อกูล ภายใต้แคมเปญฯ ตลอดเดือน พ.ย. 67 จะมีกิจกรรมที่ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.Listenian Space หรือ กิจกรรมรับฟังโดยอาสา (Listenian) ผ่านหัวข้อเสวนาต่างๆ เช่น “Friday Night” พื้นที่สำหรับชาวออฟฟิศ ที่อยากปลดปล่อยความรู้สึกให้ใครสักคนฟังหลังเลิกงาน “Lady Listening” พื้นที่รับฟังโดยเหล่าผู้รับฟังผู้หญิง เพื่อเพื่อนหญิงด้วยกัน 2.Listenian Class หรือ เวิร์กชอปการฟังด้วยหัวใจ ในหัวข้อประเด็นต่างๆ เช่น การฟัง 101, DIY Happiness, Student Well-being ชวนมาเรียนรู้ทักษะการฟังเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะการมีความสัมพันธ์ที่ดี สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมติดตามข่าวสารได้ที่ Listen.HappinessisThailand.com
You must be logged in to post a comment Login