- ปีดับคนดังPosted 13 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
เปิดตัวนวัตกรรม “ประสบการณ์” กลยุทธ์เชื่อมโยงลดช่องว่างระหว่างวัย
“เชื่อชั้นสิ ชั้นอาบน้ำร้อนมาก่อน หนูไม่ชอบคำนี้ของผู้ใหญ่เลย น้ำร้อนของผู้ใหญ่ในยุคนั้นเป็นน้ำร้อนที่ผ่านการต้ม ส่วนยุคของหนูน้ำร้อนผ่านเครื่องทำน้ำอุ่น แต่ผลลัพธ์เหมือนกัน แต่ผู้ใหญ่ไม่เคยอธิบายคำตอบที่ได้คือไม่ใช่สิ่งที่หนูต้องการจะรู้ ”
สิ้นเสียงของนางสาวปิยพัชร์ ศักดิ์อมรรัชต์ หรือ แอมโม นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มาสะท้อนปัญหาช่องว่างของการสื่อสารระหว่างวัยของเด็กวัยรุ่นกับผู้ใหญ่ ที่ทำให้ช่องว่างของคนสองกลุ่มนี้มีช่องว่างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แอมโมบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองผ่านเวที “พฤติกรรมเชื่อมวัย-เวทีนำเสนอนวัตกรรมเพื่อสานความเข้าใจระหว่างเด็กและผู้ใหญ่”
แอมโม เล่าว่า เธอเกิดมาในครอบครัวที่ประกอบด้วยหลาย GEN จึงทำให้เธอคิดว่าการเข้าหาผู้ใหญ่เป็นเรื่องที่ยากลำบาก อีกทั้งการตอบคำถามหรือปัญหาของเด็กมักจะเป็นคำตอบข้างต้นที่ตนกล่าวมา ทำให้ตนไม่ได้รับคำตอบตรงตามความต้องการของตนเอง อีกทั้งตัวแอมโมเองมีน้องที่มีอายุห่างกันถึง 18 ปี ทำให้แอมโม พบว่า คำสั่งสอนหรือคำพูดของผู้ใหญ่ที่บอกกับตนเองนั้นไม่สามารถนำมาใช้กับน้องได้ เพราะเขาสามารถหาคำตอบได้ในโลกโซลเซียล ทำให้ตนคิดว่าโลกวันนี้มันเปลี่ยนไปการสื่อสารจะต้องถูกต้องตรงประเด็นกับผู้รับ เมื่อตนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการประสบการณ์ (PRASOPKARN) พัฒนาตนเองเป็นนักเชื่อมสัมพันธ์ พบว่า โครงการดังกล่าวตนสามารถนำความรู้ที่ได้นำมาปรับใช้ได้กับตัวเรา เพราะที่นี่เขาได้บอกว่าให้ยึดตามสิ่งที่บอก แต่บอกให้เราเป็น “ฟังเขา ฟังเรา” แบ่งกันคนละครึ่งทาง ทำให้เราเริ่มต้นชีวิตวัยเด็กกับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้บอกว่าควรทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ ซึ่งตนได้นำไปใช้สอนหรือพูดคุยกับน้องที่มีวัยต่างกันมาก ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ตนกับน้องสามารถสื่อสารและเข้าใจกันได้มากขึ้น
จากประสบการณ์ของแอมโม เห็นว่าทุกวันนี้การสื่อสารระหว่างวัยได้กลายเป็นปัญหาส่วนหนึ่งของสังคมไปแล้ว เป็นเวลา 2 ปี มาแล้วที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับบริษัทไซด์คิก จำกัด (Sidekick) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่าย ได้เปิดเวทีนำเสนอนวัติกรรมสานความเข้าใจระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ผ่านพฤติกรรมเชื่อมวัยภายใต้โครงการ “ประสบการณ์” เพื่อลดช่องว่างและทัศนคติระหว่างวัย
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ในประเทศไทยพบว่าช่องว่างการสื่อสารหรือการปฏิบัติตัวต่อกันของคนแต่ละกลุ่มวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่นำมาซึ่งปัญหาหลายเรื่องโดยเฉพาะความไม่เข้าใจกันส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต ในหลายๆส่วนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย เราไม่อยากให้เกิดปัญหาเหล่านั้น เราพยายามหาวิธีลดช่องว่างแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง
จากข้อมูลรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 ปี 2567 ที่รายงานการประเมินสุขภาพจิตคนไทย ทุกช่วงอายุ จาก Mental Health Check in ของกรมสุขภาพจิต พบผู้เสี่ยงซึมเศร้า17.2% เสี่ยงฆ่าตัวตาย 10.6% และมีความเครียดสูง 15.4% โดยประชากรอายุต่ำกว่า 20 ปี มากถึง 1 ใน 3 เสี่ยงซึมเศร้าและเกือบ1 ใน 4 เสี่ยงฆ่าตัวตาย อีกทั้งวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายสูงที่สุด คือ 116.81 รายต่อแสนประชากร ขณะที่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงที่สุดสาเหตุมาจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ความเครียดจากเศรษฐกิจ เครียดจากการทำงาน ความคาดหวังสูงจากคนรอบข้าง การขาดปฏิสัมพันธ์แบบซึ่งหน้า ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมทั้งผู้สูงวัยมีความเหงาและโดดเดี่ยว
ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า การที่เราเห็นปัญหาตรงนี้ทำให้ สสส.ทำงานร่วมกับภาคี ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ในกลุ่มเด็กและเยาวชน พบว่าการสื่อสารที่สามารถนำไปใช้ได้เลย คือ ถ้าผู้ใหญ่มีปัจจัยทั้ง 4 เรื่องจะสามารถลดช่องว่างระหว่างวัยได้ ได้แก่ เรื่องการชื่นชมความพยายาม (A:Appreciate) , ตั้งใจฟังทุกคน(L:Listen),แบ่งปันความรู้จากความผิดพลาด (M:Mistakes) และ สร้างสรรค์พื้นที่ปลอดภัย (O:open) ซึ่งได้มีการทำเป็นคู่มือเพื่อบุคคลที่สนใจสามารถนำไปใช้ต่อได้ ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมเชื่อมต่อที่ลดช่องว่างระหว่างวัยได้
การค้นพบนวัตกรรมดังกล่าว สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่นั้นๆได้ สสส.จึงได้นำความรู้ที่ออกมาสื่อสารทำให้มีการสร้างคนที่มีศักยภาพไปทำงานด้านนี้ต่อไป โดยนำความรู้ที่ได้ปรับมาเป็นคู่มือ เว็บไซต์ และการทำเวิร์คชอป ค่อยๆกระจายไปเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่หรือบริษัทนั้นๆได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในวงกว้างไม่เฉพาะแต่ในเมือง แต่สามารถนำไปใช้ได้ทุกที่
ทั้งนี้ปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต คือ ปัญหาวยาคติ (ageism) หรืออคติระหว่างช่วงวัย ที่รายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่า วยาคติแพร่หลายมากที่สุดในอาเซียนอย่างประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ หลายคนมักเข้าใจว่า แค่มีความคิดอคติระหว่างช่วงวัย ทำให้เสียความรู้สึก ขุ่นเคืองใจ จากการโดนตัดสินหรือเลือกปฏิบัติ แต่ความจริงแล้วส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ และความเป็นอยู่ที่ดี การใช้ชีวิตในสังคม ทำให้ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองลดน้อยลง และเกิดภาวะซึมเศร้า หรืออาจส่งผลให้มีอาการซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น และที่ร้ายแรงที่สุด อาจเกิดความสูญเสียถึงชีวิตได้ สสส. ให้ความสำคัญกับการลดช่องว่างระหว่างวัย จึงสนับสนุนการศึกษาแนวทางและพัฒนารูปแบบนวัตกรรม เพื่อก้าวข้ามวยาคติ โดยคิดค้นนวัตกรรมช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย ส่งเสริมสุขภาพจิต และสร้างพื้นที่ให้คนต่างวัยได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมด้วยกันมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมสามารถนำไปขยายผลสู่ภาคการศึกษาต่อได้ และหากเราไม่ทำอะไรเลยช่องว่างระหว่างวัยจะขยายขึ้นเรื่อยๆ จนเจอปัญหา ความไม่เข้าใจ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทำความรุนแรงที่ก้าวร้าว เป็นการปิดช่องว่างนี้ให้มากที่สุด ซึ่งตรงนี้เป็นเพียงนวัตกรรมหนึ่งที่เข้ามาช่วย ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
นายตุลย์ ปิ่นแก้ว ผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์ บริษัท ไซด์คิก จำกัด กล่าวว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ไซด์คิก ร่วมมือกับ สสส. คิดค้นนวัตกรรมช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย โดยเริ่มจากการวิจัยกลุ่มตัวอย่าง 611 คน ทั่วประเทศ แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 15-18 ปี, 19-30 ปี, 31-50 ปี, และ 51-70 ปี เพื่อค้นหากลุ่มคนที่มีลักษณะเปิดกว้าง ไม่เหมารวม รับฟังความคิดเห็นของคนทุกวัย โดยพบว่า มีบุคคลที่มีลักษณะเปิดกว้างในระดับสูงอยู่ที่ 20% ระดับปานกลาง 37% และระดับต่ำ 41% จึงได้นำลักษณะพฤติกรรมของคนที่เปิดกว้างสูง 20% หรือที่เรียกว่า นักเชื่อมสัมพันธ์ (Connectors) มาถอดรหัส โดยพบว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะมี 4 พฤติกรรมหลักที่โดดเด่นคือ1.ชื่นชมความพยายามของผู้อื่น 2.ตั้งใจฟังทุกความคิดเห็น 3.กล้าเล่าความผิดพลาดของตนเอง 4.พร้อมที่จะสร้างสรรค์พื้นที่ปลอดภัยให้เกิดการแลกเปลี่ยน
“จากผลลัพธ์ที่ได้นำมาสู่การออกแบบกิจกรรม เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เจอผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกตรงกับนักเชื่อมสัมพันธ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ ได้เห็นลักษณะผู้ใหญ่ที่หลากหลายแตกต่างจากที่คุ้นเคย สู่การลดอคติระหว่างวัยและสร้างนักเชื่อมสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในตัวเยาวชนอย่างชัดเจนจากที่เคยกลัวการเข้าหาผู้ใหญ่หรือการแสดงความคิดเห็น กลับเต็มไปด้วยไอเดียและพร้อมที่จะมีส่วนร่วม และบอกว่าผู้ใหญ่ที่เจอนั้นแตกต่างจากที่คุ้นเคยและไม่คิดว่าผู้ใหญ่ทุกคนเหมือนกันอีกต่อไป” นายตุลย์ กล่าว
รศ.ดร. มนสิการ กาญจนะจิตรา อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผลการประเมินจากทีมวิจัย พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรม 4 ครั้ง ในระยะเวลา 2 เดือน ผ่านรูปแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยมีการถ่ายภาพบอกเล่าเรื่องราวที่พบเจอ ร่วมกับกลุ่มนักเชื่อมสัมพันธ์ที่พร้อมรับฟังและสอดแทรกการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมของคนต่างวัยเข้าไปด้วย ส่งผลบวกต่อทัศนคติและพฤติกรรมของเยาวชนที่มีต่อผู้ใหญ่ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.กล้าพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ใหญ่ 2.เปิดใจสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ 3.อยากเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ใหญ่ ซึ่งหลังจากจบโครงการไป 4-5 เดือน ได้ติดตามชีวิตของเยาวชนเหล่านั้น พบว่า ประสบการณ์จากกิจกรรมยังคงมีผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ในเชิงบวก โดยพวกเขาเลือกที่จะฟังมากขึ้น แทนที่จะปะทะความคิดเห็น ไม่เหมารวมทุกคน และพยายามทำความเข้าใจตัวตนของแต่ละคนมากขึ้น สรุปได้ว่าโครงการ “ประสบการณ์” ได้แสดงให้เห็นว่า การเชื่อมโยงเยาวชนกับผู้ใหญ่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเปิดกว้าง สามารถช่วยเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อคนต่างวัยได้อย่างแท้จริง การเสริมสร้างความเข้าใจและการเปิดใจต่อคนต่างวัย ไม่เพียงแต่จะช่วยลดอคติระหว่างวัย แต่ยังเป็นการสนับสนุนการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่สมดุลและสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย
You must be logged in to post a comment Login