- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
สสส. เปิดพื้นที่กลางกรุงฯ ชวนทุกคนรับฟัง เสียงที่สังคม ‘หลงลืม’ลดความเหลื่อมล้ำ

“FACE THE VOICE มองด้วยตา ฟังด้วยใจ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” สสส. เปิดพื้นที่กลางกรุงฯ สานพลังภาคี 9 ประชากรกลุ่มเฉพาะ ชวนทุกคนรับฟัง เสียงที่สังคม ‘หลงลืม’ หนุนเสริมศักยภาพ ลดการตีตรา ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ สู่สังคมที่เคารพในความแตกต่างอย่างแท้จริง

วันที่ 25 พ.ย. 2567 นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน ‘FACE THE VOICE’ มองด้วยตา ฟังด้วยใจ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายใต้โครงการพัฒนาการสื่อและขีดความสามารถของภาคีในการผลิตสื่อ เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของกลุ่มประชากรเฉพาะ มีเป้าหมายในการลดอคติ สร้างความตระหนักและความเข้าใจของสังคมทุกระดับ และสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพให้ประชากรกลุ่มเฉพาะทั้ง 9 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้สูงอายุ 2.คนพิการ 3.คนไร้บ้าน 4.แรงงานนอกระบบ 5.ประชากรข้ามชาติ 6.คนที่มีความหลากหลายทางเพศ 7.ผู้ต้องขัง 8.กลุ่มชาติพันธุ์ 9.มุสลิม โดยการร่วมกับทีมสื่อมืออาชีพ และภาควิชาการ พัฒนาการสื่อสารให้เกิดการสื่อสารสาธารณะ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการขับเคลื่อนทางนโยบายและการเปลี่ยนแปลงสังคม


นางภรณี กล่าวต่อว่า สำหรับงาน‘FACE THE VOICE’ มองด้วยตา ฟังด้วยใจ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นการนำเสียงของประชากรกลุ่มเฉพาะที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอคติที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการถูกกระทำความรุนแรง การถูกเลือกปฏิบัติ การเข้าไม่ถึงสิทธิต่างๆ มาสื่อสารผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น มองด้วยตาผ่านผลงานในนิทรรศการ ฟังเสียงของผู้ไม่มีเสียงในสังคมผ่านวงทอล์ก ฟังเสียงของความหลากหลายในการแสดงและเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ฟังเสียงประสบการณ์ที่แตกต่างในหนังสารคดี และฟังวิธีการส่งเสียงภายในใจตัวเองผ่านกิจกรรมเวิร์กชอป เพื่อสื่อสารกับทุกคนให้เข้าใจถึงอคติที่คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญ นำมาสู่การลดการตีตรา ส่งเสริมให้เข้าถึงการมีงานทำ มีที่อยู่อาศัย มีระบบสวัสดิการที่ครอบคลุม เข้าถึงสิทธิต่างๆ โดยให้มองและปฏิบัติต่อกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ไม่มีการสงเคราะห์ ไม่ใช่การช่วยเหลือ แต่ผลักดันให้เข้าถึงโอกาส และสวัสดิการพื้นฐานที่พึงจะได้รับ



“ความต่างคือความหลากหลาย และความหลากหลายคือพลัง การสื่อสารเพื่อหาแนวร่วมก็เป็นอีกเครื่องมือสำคัญในการเสริมพลัง และสร้างการเปลี่ยนแปลง ซึ่งประชากรกลุ่มเฉพาะไม่ได้มีอะไรต่างจากคนทั่วไป อยากกินอิ่ม นอนอุ่น มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และพึ่งพาตนเองได้ เพื่อไม่ให้ต้องมีใครอยู่ข้างหลังอีกต่อไป” นางภรณีกล่าว
You must be logged in to post a comment Login