- วัดสวนแก้วจัดงานต้อนรับปีใหม่Posted 9 hours ago
- ขอให้คนไทยมีสติPosted 1 day ago
- ธรรมะใช้ได้ทุกวงการPosted 2 days ago
- ช่วยขจัดเหตุความชั่วร้ายPosted 4 days ago
- ใครเป็นนายกฯตัวจริงPosted 7 days ago
- ชอบผู้นำสไตล์ไหนPosted 1 week ago
- เมื่อความเจ็บป่วยมาเยือนPosted 1 week ago
- ไต่บันไดทีละขั้นดีกว่าPosted 1 week ago
- เกิดเป็นคนต้องสู้Posted 2 weeks ago
- ความตายอย่ามาเยือนบ่อยPosted 2 weeks ago
แนะผู้สูงอายุเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ-การเงินก่อนอายุ 60
สังคมผู้สูงวัย (Aging society) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง Mega Trend โลกไปแล้ว โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าในปี 2573 จะมีประชากรสูงอายุมากถึงประมาณ 1.4 พันล้านคน และจะเพิ่มเป็น 2 พันล้านคนในปี 2593 นอกจากนี้ องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ปี 2562 – 2593 ทวีปเอเชียจะมีประชากรสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมากที่สุดในโลก
แน่นอนว่าเมื่อประชากรสูงวัยมากขึ้น เราเคยคิดไหมว่า ชีวิตตอนอายุ 60 ปีจะเป็นอย่างไร เรากำลังก้าวเข้าสู่วัยเกษียณที่ชีวิตจะมีรายได้ลดลง โรคภัยไข้เจ็บจะถามหา เราอาจจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้มีรายได้หลักของครอบครัวกลายมาเป็นภาระของครอบครัวแทน ซึ่งปัจจัยหลักที่กลุ่มผู้สูงวัยให้ความสำคัญ คือ การดูแลสุขภาพ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ให้ความสำคัญกับโภชนาการ
ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) จัดงานเปิดคลังความรู้ มส.ผส. และ สสส. ประจำปี 2567 หัวข้อ “สานพลังวิชาการสู่งานขับเคลื่อนนโยบาย ร่วมสร้างสังคมสูงวัยให้มีสุขภาวะอย่างยั่งยืน” มุ่งพัฒนานวัตกรรมและงานนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทยอย่างรอบด้าน รวมถึงการสร้างเครือข่ายและเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และสร้างความตระหนักรู้ให้กับสาธารณะ ที่ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
ดร.นพ.ภูษิต ประคองสาย เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติประชากรทางทะเบียนราษฎร (ณ เดือนกันยายน 2567) ระบุว่าไทยมีประชากร 65,969,270 คน เป็นประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป 13,575,063 คน คิดเป็น 20.58% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าไทยเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และคาดการณ์ว่าสัดส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 28% หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป สูงกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด ในปี 2576 และสังคมไทยจะอยู่ในสภาวการณ์ที่มีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโครงสร้างอายุที่เปลี่ยนไป กระทบกับโครงสร้างของสังคมไทยโดยรวม ส่งผลต่อการยกระดับขีดความสามารถศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทั้งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รายได้ต่อหัวประชากร การออม การลงทุน งบประมาณของรัฐบาล โดยเฉพาะด้านภาระทางการคลังและด้านสุขภาพ
“มส.ผส. และ สสส. มีกลไกการทำงานเชิงนวัตกรรม รูปแบบ เครื่องมือ และวิธีการทำงานที่สามารถทำงานได้จริงในระดับพื้นที่ เช่น โครงการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมแบบครบวงจร ส่งเสริมให้เข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รักษาและชะลอความเสื่อมของสมอง และเกิดการขับเคลื่อนระดับนโยบายได้ในเชิงประจักษ์ ตลอดจนเป็นโอกาสสำคัญในการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายสู่องค์กรหลักที่เกี่ยวข้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน โดยการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจสำหรับผู้สูงอายุ พร้อมทั้งสนับสนุนระบบสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุ ผ่านการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน”
ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบัน 97% ของผู้สูงอายุยังสามารถออกสังคมได้ และอีก 45.7%ของผู้สูงอายุที่ไม่มีเงินออก ดังนั้นสิ่งที่สังคมไทยต้องตระหนักถึงในภาพรวมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้สูงอายุจะต้องรับมือกับเรื่องอะไรบ้าง เมื่อรายได้หลักลดลงหรือไม่มี ขณะที่ระบบบำนาญที่มีอยู่ผลลัพธ์ยังไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ดังนั้นสิ่งที่ผู้สูงวัยในอนาคตเตรียมตัวไว้ความพร้อมและวางแผนตั้งแต่ในวัยทำงาน คือ การออมเงินเพื่อวัยเกษียณตามแผนที่วางไว้ ดังคำกล่าวที่ว่า เรารู้วันเกิด แต่เราไม่รู้วันตาย เรื่องนี้จึงเป็นความเสี่ยงของการมีชีวิตที่กระทบการวางแผนเงินออม
นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ ปี 2567 คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 ทั่วโลกมีผู้สูงอายุ สูงถึง 1,200 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 8,045 ล้านคนทั่วโลก การสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการรองรับสังคมสูงวัยให้มีสุขภาวะดีอย่างยั่งยืน โดย สสส. ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัยอย่างครบวงจรครอบคลุม 4 มิติ 1.มิติสุขภาพ สร้างชุดความรู้ พัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ป้องกันปัญหาการหกล้ม 2.มิติเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงทางรายได้ให้ผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้พัฒนาทักษะใหม่ เพิ่มการจ้างงาน สร้างรายได้ 3.มิติสังคม สร้างความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุ เพิ่มพื้นที่เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีผ่านระบบออนไลน์ ส่งเสริมโรงเรียนผู้สูงอายุและจัดตั้งธนาคารเวลาเพื่อสร้างระบบการดูแลที่ยั่งยืน 4.มิติสภาพแวดล้อม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับผู้สูงอายุ ทั้งในที่พักอาศัยและสถานที่สาธารณะ โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย
นางภรณี กล่าวว่า ดังนั้นข้อเสนอในวันนี้จะเกี่ยวกับสังคม สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆว่าจะมีข้อเสนอในระดับพื้นที่ขึ้นมาได้อย่างไรบ้างหรือข้อเสนอจากนักวิชาการต่างๆ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวอาจจะนำเสนอกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วรัฐบาลเลือกนำไปปรับใช้ได้
ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุคือเรื่องเศรษฐกิจ เป็นสถานการณ์หลักที่รายได้ของผู้สูงอายุไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยเบี้ยยังชีพในการประทังชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน เพราะฉะนั้นนโยบายที่เกี่ยวกับเบี้ยยังชีพการดูสวัสดิการต่างๆที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุโดยรวมเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ถัดไปเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย ภาพรวมที่อยู่อาศัยถ้าเกิดการปรับปรุง โดยใช้งบประมาณของท้องถิ่นร่วมด้วยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการพึ่งพาของผู้สูงอายุได้ ลดการพึ่งพานในบ้านและลดการไปอยู่ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุได้ ส่วนเรื่องสุขภาพ มีนวัตกรรมการดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้
“เรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำในวันนี้คือ เรื่องเศรษฐกิจและที่อยู่อาศัย ซึ่งตอนนี้อยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากต้องพึ่งภาครัฐ พม.หรือหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นต่างๆเข้ามาช่วยทั้งในเรื่องของเบี้ยยังชีพหและการปรับบ้านของผู้สูงอายุ ส่วนเรื่องของสุขภาพพบว่า โรคเบาหวานและโรคNCDs มีเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามเสนอรูปแบบการดูแลตัวเองในช่วงหลัก 60 ปีขึ้นไป ร่วมกับการเตรียมความพร้อมการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุ เพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนจะเป็นผู้สูงอายุ จึงเป็นการทำงานทั้งหมดสอดคลองกับนโยบายภาครัฐ พร้อมทั้งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุกมิติ เพื่อสร้างสังคมที่ดีและยั่งยืนในอนาคต นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในทุกด้าน”นางภรณี กล่าว
You must be logged in to post a comment Login