- 5 ธ.ค.วัดสวนแก้วแตกแน่Posted 14 hours ago
- จะกลับมาแบบไหนPosted 1 day ago
- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 2 days ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 2 days ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 2 days ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 2 days ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 3 days ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 6 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 7 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 1 week ago
ชวน “พ่อ”เป็นต้นแบบที่ดีเลิกบุหรี่เพื่อลูก
“จากประสบการณ์เห็นพ่อสูบบุหรี่มาตลอด มาสูบตอนเป็นวัยรุ่นคิดว่าการสูบบุหรี่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นผู้ใหญ่ จากนั้นก็สูบเรื่อยมาเป็นเวลา 20 ปี ถามว่าคนที่สูบบุหรี่ทุกคนรู้ว่าไม่ดี แต่เลิกไม่ได้ พยายามเลิกหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนรู้ว่าภรรยาตั้งท้อง จึงตัดสินใจเลิกถาวรแบบหักดิบเพราะไม่ต้องการให้ควันบุหรี่ทำร้ายสุขภาพลูกและคนในครอบครัว จึงเกิดแรงบันดาลใจและสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ เรียกได้ว่าลูกเป็นแรงบันดาลใจ เป็นเป้าหมายสำคัญที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ”
สิ้นเสียงของอนุวัฒน์ เดชพรพงศ์ ตัวแทนของพ่อที่เลิกบุหรี่เพื่อลูก ที่มาบอกเล่าประสบการณ์การเลิกบุหรี่เพื่อลูกในเวทีเสวนาผลการสำรวจรับฟังความคิดเห็นหัวข้อ “พ่อ…พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสร้างครอบครัวปลอดบุหรี่” ภายใต้โครงการครอบครัวปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า เพื่อสร้างการรับรู้ในเรื่องบทบาทของพ่อที่มีความสำคัญกับพฤติกรรม ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ภายในครอบครัวที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.)
พ่อมีแรงจูงใจเลิกบุหรี่เพื่อลูก
ผศ.ดร.วศิน ศิวสฤษดิ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยผลการสำรวจพฤติกรรม ความต้องการ ความคาดหวัง “พ่อ” ที่ส่งผลต่อการเลี้ยงดูบุตร หลานและความสัมพันธ์ในครอบครัวจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างพ่อ และผู้ชายที่มีบทบาทในการรับผิดชอบเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 0-6 ปี อาทิ ปู่ ตา ลุง น้า อา พี่ จากกลุ่มตัวอย่างพ่อ 1,159 คน ใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ พบพ่อที่สูบบุหรี่ 461 คน คิดเป็น 39.8% กลุ่มอายุที่สูบบุหรี่มากที่สุดคือ 21-30 ปี รองลงมาคือ 31-40 ปี แบ่งเป็นบุหรี่มวน 356 คน คิดเป็น 77.22% บุหรี่ไฟฟ้า 57 คน คิดเป็น 12.36% และสูบทั้ง 2 ชนิด 48 คน คิดเป็น 10.42% โดยภาคใต้สูบบุหรี่มวนสูง รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ กรุงเทพฯและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขณะที่ภาคที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าสูงที่สุดคือ ภาคตะวันออก รองลงมาคือ กรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้
“มีพ่อที่เคยสูบบุหรี่แต่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ 228 คน คิดเป็น 20% สาเหตุที่ทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้คือ มีลูกเป็นแรงจูงใจทำให้ตัดสินใจเลิกบุหรี่มากถึง 88.16% และต้องการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก 88.16% ส่วนกลุ่มที่ยังสูบอยู่ให้เหตุผลว่า ช่วยให้คลายเครียด และเคยชินกับการสูบ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้คือความเคยชิน และเครียดจากฐานะทางเศรษฐกิจ โดย 77.87% ของกลุ่มที่สูบบุหรี่ รู้ว่าการสูบบุหรี่จะส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของลูกในอนาคต แม้จะยังเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ แต่มีความตั้งใจที่จะให้ความรู้และพูดคุยกับบุตรหลานเรื่องความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ต่อไป ทั้งนี้ ยังพบว่า พ่อมีความรู้ที่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าน้อยมาก โดยเฉพาะเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำยาและส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า” ผศ.ดร.วศิน กล่าว
ผศ.ดร.วศิน กล่าวว่า จากรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า สถานการณ์ของบุหรี่ฟ้าในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเยาวชน เนื่องจากการการบังคบใช้กฎหมายที่ผ่านมายังรูปธรรม ขาดการบูรณาการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมถึงการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า และการรู้เท่าทันกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทยาสูบข้ามชาติยังไม่ครอบคลุมและต่อเนื่อง
การสื่อสาร กำลังใจคือสิ่งที่คนติดบุหรี่ต้องการ
ขณะที่ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ย้อนวันวานในวัยเด็กว่า ตนมีพ่อที่ทั้งดื่มและสูบ และบ่อยครั้งที่แม่จะเตือนตนว่าโตขึ้นไปอย่าดื่มอย่าสูบเหมือนพ่อ และเคยบนไว้ว่าถ้าสอบติดหมอจะไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ตลอดชีวิต เมื่อตนสอบได้ก็ไม่เคยแตะต้องสิ่งเหล่านี้เลยจนถึงทุกวันนี้ ในส่วนตัวมองว่าการเลิกสูบบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดต่างๆจะเป็นมรดกส่งต่อให้ลูกในอนาคต พ่อสามารถต้นแบบที่ดีให้กับครอบครัวได้ และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกชายได้อีกด้วย
นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า ปัญหาการสูบบุหรี่ ถือเป็นปัญหาที่คงอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ภัยจากบุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มที่นักสูบจะมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งมีจุดเริ่มจากคนในครอบครัวโดยเฉพาะผู้ที่เป็นพ่อ มีส่วนสำคัญส่งผลต่อเด็ก ที่อาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ นำไปสู่การกลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ได้ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดควันมือสอง มือสาม ที่ส่งผลโดยตรงกับการเกิดปัญหาสุขภาพ เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด และการติดเชื้อในหู และยับยั้งพัฒนาการของเด็กและเยาวชน ดังนั้น สสส. จึงได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูบบุหรี่ในครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อปกป้องสุขภาพของเด็ก เยาวชนตั้งแต่ต้นทาง นอกจากนี้การเลิกบุหรี่ของคนเป็นพ่อจะประสบความสำเร็จได้นั้น พบว่าการสื่อสารให้กำลังใจ เป็นสิ่งที่คนติดบุหรี่ต้องการ
“บุหรี่ไฟฟ้ากำลังสร้างปัญหาให้กับสังคมไทย นอกจากมีอันตรายไม่ต่างจากบุหรี่มวนแล้ว ยังมีโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง และสารปรุงแต่งกลิ่นรสอีกกว่า 16,000 ชนิด ที่ทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดลม และเส้นเลือดฝอยอักเสบ เพิ่มความเสี่ยงโรคปอด หลอดเลือด หัวใจให้กับผู้ที่ได้รับควัน ที่สำคัญคือเกินกว่าครึ่งของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในไทย เป็นเยาวชน อายุ 15-24 ปี มีข้อมูลพบว่า เด็กและเยาวชนที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนถ้าเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะมีแนวโน้มสูบบุหรี่มวนเพิ่มขึ้น 5 เท่า บุหรี่ไฟฟ้าจึงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชนโดยตรง” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว
สส.พรรคประชาชนเสนอ 3 ข้อ หลักสกัดบุหรี่ไฟฟ้า
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะคณะกรรมาธิการกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในอดีตตนทั้งดื่มและสูบ พอได้มาทำงานเป็นเอ็นจีโอทำงานเรื่องเด็ก จึงทำให้ตนเลิกดื่มและสูบได้ ในส่วนตัวองว่า หากพ่อเป็นต้นแบบที่ไม่ดี จะส่งผลกระทบต่อตัวลูกในอนาคต อยากให้พ่อทุกคนมีเป้าหมายที่จะเลิกสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อลูก เพื่อครอบครัวและชุมชน
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ตนได้ขับเคลื่อนนโยบายบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ผ่านคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ ได้มีการศึกษาผลกระทบเรื่องบุหรี่ โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้า มีข้อเสนอหลัก 3 ส่วนคือ 1.ด้านกฎหมาย รัฐบาลต้องวางมาตรการด้านกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น 2.ด้านบริบทของคนที่เกี่ยวข้องต่อเด็ก ทั้งในโรงเรียนและชุมชน มีมาตรการเชิงเฝ้าระวังและป้องกัน 3.ด้านครอบครัว ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครอบครัวและคนรอบตัวเด็กถึงโทษของบุหรี่ไฟฟ้า ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพรุนแรงไม่น้อยไปกว่าการสูบบุหรี่ หรือยาเสพติดอื่นๆ เพราะเมื่อพูดถึงบทบาทในความเป็นพ่อ พ่อต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก เพราะต้นแบบที่ดีเริ่มจากในครอบครัว ทําให้เด็กได้เรียนรู้ว่าคนในครอบครัวไม่มีใครสูบบุหรี่ หรืออย่างน้อยที่สุดก็หวังให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องผลกระทบการสูบบุหรี่ภายในบ้าน
“อยากฝากรัฐบาลให้ช่วยกันสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ดี ที่เอื้อให้เกิดประโยชน์ของประชาชนที่จะมีต่ออนาคตของชาติที่จะเกิดขึ้นอีก 10-20 ปีข้างหน้า” นายณัฐวุฒิ กล่าวสรุป
You must be logged in to post a comment Login