- ลองเป่าเศรษฐกิจให้โป่งทีPosted 11 hours ago
- วัดสวนแก้วจัดงานต้อนรับปีใหม่Posted 1 day ago
- ขอให้คนไทยมีสติPosted 2 days ago
- ธรรมะใช้ได้ทุกวงการPosted 3 days ago
- ช่วยขจัดเหตุความชั่วร้ายPosted 4 days ago
- ใครเป็นนายกฯตัวจริงPosted 1 week ago
- ชอบผู้นำสไตล์ไหนPosted 1 week ago
- เมื่อความเจ็บป่วยมาเยือนPosted 1 week ago
- ไต่บันไดทีละขั้นดีกว่าPosted 1 week ago
- เกิดเป็นคนต้องสู้Posted 2 weeks ago
เปิดตัวโครงการลูกแก้ว ส่งเสริม-ยอมรับความหลากหลายทางเพศ
จะดีหรือไม่ที่สังคมเล็กๆอย่างโรงเรียนจะเป็นต้นแบบให้กับสังคมให้เข้าใจ ยอมรับความแตกต่างของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ เปิดโลกให้น้องๆที่มีความหลากหลายทางเพศได้ใช้ชีวิตแบบที่ตนเองเป็นอย่างมีคุณภาพ ไม่ถูกตีตรา เลือกปฏิบัติ ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ สสส. สานพลัง กทม.-มูลนิธิเอ็มพลัส-ภาคี เปิดตัวโครงการลูกแก้ว นำร่อง 15 โรงเรียนใน กทม.เพื่อพัฒนาสู่ต้นแบบโรงเรียนที่เปิดกว้างอย่างแท้จริง
ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.) มูลนิธิเอ็มพลัส และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการลูกแก้ว “เริ่มต้นโอบรับทุกความหลากหลายและสร้างการมีส่วนร่วม: Embracing Diversity and Inclusion” เพื่อส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQN+)
โครงการลูกแก้ว ในโรงเรียนต้นแบบยอมรับความหลากหลายทางเพศ
นายพงศ์พีระ พัฐภีระพงศ์ ผู้อำนวยการเอ็มพลัส ได้กล่าวถึงที่มาที่ไปของโครงการลูกแก้ว ว่า การทำงานด้านความหลากหลายทางเพศ เป็นอีกหนึ่งภารกิจหลักของมูลนิธิเอ็มพลัส ที่ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนให้เกิดความเท่าเทียม และสะท้อนความหลากหลายทางเพศที่มีในสังคมไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านจิตสังคมของเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBTIQN+ โดยเน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิตสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนมีส่วนร่วม ยอมรับในความแตกต่าง และเคารพซึ่งกันและกันในกลุ่มวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงพัฒนาตนเองในทางที่ดีขึ้นสู่การเป็นวัยรุ่นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพและสุขภาวะดีในอนาคต
โครงการลูกแก้ว เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิตรวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนมีส่วนร่วม ส่งเสริมและป้องกันสุขภาพยอมรับในความแตกต่างและเคารพซึ่งกันและกันในกลุ่มวัยรุ่นความหลากหลายทางเพศLGBTQI+ และการพัฒนาตนเองในทิศทางที่บวกเพื่อเป็นต้นแบบในการดูแลสนับสนุนผ่านกลไกที่ช่วยเหลือวัยรุ่น ให้เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ต่อไป
โดยเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นมิตรลดความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติในโรงเรียนพร้อมส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม โครงการนี้จะเริ่มดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง 10 แห่งในกรุงเทพมหานครโดยคาดหวังที่จะสร้างต้นแบบของโรงเรียนที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างทางเพศอย่างแท้จริง
คำว่า ลูกแก้ว มีความหมายสองประการในความหมายแรกคือรูปอันเป็นที่รักลูกอันเป็นแก้วตาดวงใจสะท้อนถึงแนวคิดของคนไทยที่เปรียบถึงลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ความหมายที่สองหมายถึงแก้วหินอ่อนใสภายในมีสีสันแตกต่างกันมีสัญลักษณ์ความแตกต่างภายในของเด็กแต่ละคนซึ่งเปรียบเสมือนการยอมรับในความหลากหลายของเยาวชน ในโครงการนี้มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของวัยรุ่นกลุ่มนี้เพื่อให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่มีความหมายโดยจะใช้กลไกต่างๆเช่นการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพการส่งเสริมการเคารพสิทธิ์ของมนุษย์และการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงออก
สสส.หนุนสังคมไทยเปิดกว้างมีทัศนคติเชิงบวกต่อกลุ่ม LGBTIQN+ มากขึ้น
นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ข้อมูลการคาดประมาณของเว็บไซต์ LGBT–Capital.com ในปี 2562 ถึงปัจจุบัน ระบุว่า มี LGBT ทั่วโลกประมาณ 371 ล้านคน และไทยมี LGBTประมาณ 3.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยภาพรวมดูเหมือนสังคมไทยจะเปิดกว้าง และมีทัศนคติเชิงบวกต่อกลุ่ม LGBTIQN+ มากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติไม่ใช่ LGBTIQN+ ทุกกลุ่มจะมีพื้นที่ในสังคมหรือถูกมองเห็นอย่างเท่าเทียมกัน กลุ่ม LGBTIQN+ ยังคงเป็นบุคคลที่ ถูกเลือกปฏิบัติ ตีตรา ถูกกลั่นแกล้ง รังแก และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
“สสส. ดำเนินงานพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ 5 ด้าน ได้แก่ 1.คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2.พัฒนาฐานข้อมูลและการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ 3.สร้างระบบบริการสุขภาวะที่เป็นธรรมและเข้าถึงได้ 4.สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและชุมชน 5.พัฒนาศักยภาพด้านการเสริมสร้างสุขภาวะ ซึ่งโครงการลูกแก้วมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์นี้ สสส. จึงสนับสนุนโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาวะให้มีสภาพแวดล้อม เอื้อต่อการสร้างเสริมความเข้มแข็งของเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ เช่น จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ ให้บริการปรึกษาสุขภาพจิต สร้างพื้นที่ปลอดภัยทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชนให้มีสุขภาวะที่ดี และเป็นต้นแบบการสร้างสังคมที่โอบรับความหลากหลายได้อีกด้วย” นางภรณีกล่าว
นางภรณี กล่าวว่า ครู อาจารย์มีส่วนสำคัญต่อชีวิตเด็กในโรงเรียนอย่างมาก ดังนั้น สสส.คิดว่าทางทำงสนกับครูเป็นเรื่องที่จำเป็น รวมถึงเพื่อนที่ไม่ได้เป็น LGBTIQN+ ด้วย เพราะการถูกกลั่นแกล้งรังแก เลือกปฏิบัติ มาจากสภาพแวดล้อมและเรื่องอื่นๆรวมอยู่ด้วยไม่ใช่เฉพาะตัวของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่จะเห็นคุณค่าในตัวเองเท่านั้น ดังนั้นความใจจากครู เพื่อนจะต้องมีการทำความเข้าใจอย่างลึก แล้วกระบวนการจึงจะเริ่มจากกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่ม LGBTIQN+ ซึ่งความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติต่อกันแบบมีมิตรภาพแล้วมันจะทำให้ลดอัตราความรุนแรง ความเครียดและความวิตกกังวลของเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศลง จะมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระบบเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งคำลูกแก้ว แปลว่าตัวแกนนำที่มีความเข้มแข็ง เป็นที่รักของทุกคน และเด็กกลุ่มนี้จะเป็นคนให้คำปรึกษา รวมถึงช่วยเหลือนำเรื่องที่อยู่ใต้โต๊ะเข้าระบบมากขึ้น ซึ่งจะมีกลไกที่เป็นทางการช่วยเหลือเขา นอกจากการช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
กทม. ขานรับ “โครงการลูกแก้ว” นำร่อง 10 โรงเรียน กทม.
นายแพทย์สุนทร สุนทรชาติ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า โครงการพัฒนาแนวทางการบูรณาการเรื่องการส่งเสริมสุขภาวะของเยาวชนหลากหลายทางเพศของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร (โครงการลูกแก้ว) ซึ่งนับว่าเป็นโครงการที่มีส่วนสำคัญในการมุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านจิตสังคมเพื่อให้วัยรุ่นและเยาวชนหลากหลายทางเพศในกรุงเทพมหานครมีสุขภาวะที่ดี (Well-being) รวมทั้งมีนโยบายและกลไกการสนับสนุนวัยรุ่นและเยาวชนหลากหลายทางเพศ บูรณาการความร่วมมือระหว่างโรงเรียน โครงการ To Be Number One ร่วมกับกรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เยาวชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มสำคัญเนื่องจากอยู่ในช่วงวัยที่กำลังค้นหาตนเอง ทั้งความชอบ ความสนใจ รวมถึงสุขภาพ และการพัฒนาอัตลักษณ์ของตนเอง การดูแลและช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจะช่วยให้เยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถปรับตัวได้ และพัฒนาตนเองให้เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพในอนาคตได้
ทั้งนี้กรุงเทพมหานครมีนโยบายสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สร้างเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ LGBTQI+ โดยมี 4 นโยบายหลักที่เกี่ยวข้องได้แก่ 1. ให้การศึกษาพัฒนานักเรียนสู่พลเมืองโลกเพื่อทำความเข้าใจประเด็นอ่อนไหว เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ 2. สนับสนุนการจัดเทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพมหานคร (Pride Month) 3. หน่วยงานกรุงเทพมหานครเข้าใจสนับสนุนความเท่าเทียมและยอมรับความหลากหลายทางเพศ 4. นำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพทางเพศหลากหลายกรุงเทพมหานคร (BKK PRIDE CLINIC) ปัจจุบันมีทั้งหมด 31 แห่งทั่วกรุงเทพมหานคร
“การส่งเสริมสุขภาวะและลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพของเยาวชนและผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและการระดมทรัพยากรจากแหล่งทุนต่าง ๆ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนให้กลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนหลากหลายทางเพศในกรุงเทพมหานครมีสุขภาวะที่ดี ” นายแพทย์สุนทร กล่าว
You must be logged in to post a comment Login