- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 1 month ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 1 month ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 1 month ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 1 month ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 1 month ago
สสส. สานพลัง กสม.-ภาคี เดินหน้าแก้วิกฤติโลกเดือด

วันสิทธิมนุษยชนสากล ปี 2567 สสส. สานพลัง กสม.-ภาคี เดินหน้าแก้วิกฤติโลกเดือด หลังกระทบสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ชีวิต-สุขภาพ-อาหาร เปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิด ดันสู่ ร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นธรรมและยั่งยืนของภาคประชาชน

วันที่ 22 ธ.ค. 2567 ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวในงานเสวนาสมัชชาสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 หัวข้อ “มองไปข้างหน้ากับการแก้วิกฤติโลกเดือดบนฐานสิทธิมนุษยชน” ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต ทรัพยากรอาหาร การเกิดภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เห็นได้ชัด คือ 1.อุณหภูมิบนผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น 2.น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3.วิกฤตภัยแล้งที่แผ่ขยายในหลายพื้นที่ 4.ลมพายุมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตอีกด้วย เช่น การแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ ภาวะขาดสารอาหาร ร่างกายช็อกจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและอันตรายถึงชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องร่วมกันการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
“ที่ผ่านมา สสส. สนับสนุนสถาบันชุมชนท้องถิ่น ตั้งกลุ่มประชาสังคมในนาม Thai Climate Justice for All ศึกษาผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อประเทศไทย และชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังวนเวียนอยู่ในวิกฤต “ร้อน-แล้ง-ท่วม” ซึ่งทำให้ประชาชนในหลายภูมิภาคของไทย โดยเฉพาะเกษตรกร ไม่สามารถประกอบกิจกรรมทางการเกษตรหรือการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ตามวิถีที่เคยเป็นมาได้ และตัดสินใจย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อแสวงหาโอกาสในการทำงานและการมีชีวิตที่ขึ้น และสร้างเครือข่าย “พลเมืองตื่นรู้กอบกู้วิกฤตโลกร้อน ” มุ่งพัฒนาแนวคิด ความรู้ การรณรงค์สาธารณะ สร้างภาคีเครือข่ายพัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะจากฐานล่าง ออกแบบทิศทางขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ รวมถึงจัดเวที COP28 ภาคประชาชน เพื่อสร้างการตระหนักรู้อย่างกว้างขวางในสังคม เพื่อยุติต้นเหตุของปัญหาโลกร้อน รวมถึงการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นธรรมและยั่งยืนของภาคประชาชน” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กสม. กล่าวว่า กสม. ได้ติดตามการแก้ไขวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของรัฐบาล รวมถึงความพยายามจัดทำกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการศึกษาและจัดรับฟังความเห็นต่อร่างกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ เชียงใหม่ ภาคตะวันออก ชลบุรี ภาคใต้ พัทลุง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น ซึ่งผลจากการรับฟังความเห็นดังกล่าว ภาคประชาชนจำนวนหนึ่งสะท้อนว่าไม่ได้มีส่วนร่วมกับร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างเพียงพอและทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางต่าง ๆ เช่น เด็กและเยาวชน ชนเผ่าพื้นเมือง เกษตรกร คนยากจน และเนื้อหาของกฎหมายยังไม่สามารถให้หลักประกันได้ว่าจะนำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งกำเนิดได้อย่างแท้จริง และอาจส่งผลให้มีการละเมิดสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร


“กสม. จึงร่วมกับ สสส. จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนขึ้นโดยได้ข้อสรุปว่า การจัดทำกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศควรยึดหลักการเข้าถึง สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิในสภาพภูมิอากาศที่ปลอดภัย และสิทธิของคนรุ่นอนาคต โดยเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศที่มีความเป็นอิสระ มาจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศมากที่สุด พร้อมจัดตั้งสมัชชาพลเมืองด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สู่ก้าวสำคัญในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเป็นธรรม และรวมข้อเสนอแนะทุกภาคส่วนไปเสนอต่อหน่วยงานเกี่ยวข้อง พร้อมรับมือกับความท้าทายบนพื้นฐานของการเคารพ ส่งเสริม คุ้มครอง และเติมเต็มสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง” นางสาวศยามล กล่าว
You must be logged in to post a comment Login