- ปากท้อง-ยานรกหนักสุดในชีวิตPosted 10 hours ago
- ขอให้ชีวิตอยู่ได้ทุกสถานการณ์Posted 1 day ago
- กันไว้ดีกว่าแก้Posted 2 days ago
- ให้รางวัลทางศีลธรรมบ้างPosted 3 days ago
- เลิกเป็นทาสยาเสพติดPosted 4 days ago
- ต้องรู้ทันแก็งค์คอลเซ็นเตอร์Posted 1 week ago
- อวิชชาบังตาPosted 1 week ago
- รักษาราชประเพณีPosted 1 week ago
- สำนึกผิด โอกาสเป็นบัณฑิตได้Posted 1 week ago
- ระวังฟืนไฟให้ดีPosted 2 weeks ago
ดึงอินฟลูฯสายหมอสร้างความตระหนักรู้ภัยร้ายของบุหรี่ไฟฟ้าให้เยาวชน
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ผุดไอเดียดึงอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) สายหมอมาสร้างองค์ความรู้ให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปตระหนักถึงภัยอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าผ่านโลกออนไลน์ สสส.และเครือข่ายประกาศชวนคนไทยส่งเสียงร้องไปยังภาครัฐว่าคนไทยไม่เอาบุหรี่ วอนนักการเมืองอย่าทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย หวั่นนักสูบที่เป็นเด็กและเยาวชนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบและกลายเป็นปัญหาระดับชาติได้
“บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้ามีผลกระทบต่อร่างกายทั้งระบบจากประสบการณ์การเป็นหมอกระดูกพบว่า คนไข้กรณีกระดูกหักที่มารักษา หมอจะถามว่าสูบบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่ ถ้าสูบระหว่างการรักษาขอให้งดการสูบ เพราะการสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้การเชื่อมต่อติดของกระดูกช้าลง สำหรับคนปกติที่ไม่สูบจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์จะมีการเชื่อมต่อของกระดูกได้เป็นปกติ ส่วนคนที่สูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าจะใช้เวลานานถึง 6 เดือน หรือถ้ายังไม่ติดอาจต้องมีการเอากระดูกส่วนอื่นมาเสริม นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะได้รับผลกระทบเทียบเท่ากับควันบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้ามือหนึ่ง ”
สิ้นเสียงของฟลูเอนเซอร์ช่องติ๊กต๊อก dr.punch ที่มีผู้ติดตามมกว่า 5 แสนคน พ.ต.ต.นพ.วรพล เจริญพร ศัลยแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ รพ.ตำรวจ ที่ออกมาเคลื่อนไหวให้ความรู้เรื่องอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อร่างกายไม่เพียงเฉพาะกับปอดเท่านั้น แม้แต่กระดูกก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย
ที่ผ่านมา มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวที “เติมพลัง ปลุกความคิด สร้างสังคมปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเติมทักษะ ที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสมรรถนะการขับเคลื่อนงานควบคุมการบริโภคยาสูบ ให้กับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมจาก 52 จังหวัด 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ และมีฟลูเอนเซอร์สายหมอของจริงมาให้ความรู้เยาวชนผ่านช่องทางโซเซียล
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า จากการสำรวจการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทย (Global Youth Tobacco Survey: GYTS) ปี 2565 โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ในกลุ่มนักเรียนอายุ 13-15 ปี พบการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มเป็น 17.6% ในปี 2565 จาก 3.3% ในปี 2558 เพิ่มขึ้น 5.3 เท่า และมีผู้เริ่มใช้บุหรี่ไฟฟ้าอายุน้อยที่สุดอยู่ที่ 7 ปี จากกลยุทธ์การตลาดของบริษัทผู้ผลิตที่มุ่งเป้าเยาวชน สร้างภาพลักษณ์ให้บุหรี่ไฟฟ้าเหมือนของเล่น มีกลิ่นหอม และเยาวชนหญิงสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
“แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งปราบปรามผู้ที่ลักลอบขายบุหรี่ไฟฟ้า แต่ยังมีช่องว่างทำให้สินค้าแพร่กระจายทั้งทางตรงและออนไลน์ แม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย จึงจำเป็นที่ภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันทั้งระดับนโยบายและการสื่อสารรณรงค์ที่ต่อเนื่อง รวมถึงครูและผู้ปกครอง จะต้องรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนไทยจากการเสพติดบุหรี่ไฟฟ้า ไม่เช่นนั้นจะทำให้อัตราการสูบบุหรี่ที่ลดลง มีโอกาสที่จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้จำนวนคนสูบบุหรี่ที่ลดลงไปแล้วกลับเพิ่มขึ้นมาใหม่ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ” ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต กล่าว
ด้าน นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การต่อสู้กับสงครามบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ต้องเกิดจากการรวมพลังกันทุกภาคส่วน บุหรี่เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องให้ความสำคัญ ข้อมูลการสูญเสียปีสุขภาวะของประชากรไทย ปี 2562 หมายถึงผู้ที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร พบว่า บุหรี่ทำให้คนไทยสูญเสียปีสุขภาวะไปถึง 3.5 ล้านปีต่อปี ซึ่งเป็นอันดับที่ 1 ของภัยสุขภาพทั้งหมด ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนผู้หญิงอยู่ที่ 15% ในขณะที่ผู้หญิงไทยทุกกลุ่มอายุสูบบุหรี่แค่ 1.3% แต่หากบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย อัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนหญิงอาจจะเพิ่มไปถึง 30-40% เมื่อเขากลายเป็นผู้ใหญ่ก็จะติดบุหรี่ตามไปด้วย ขณะเดียวกัน ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของผู้หญิงไทยอยู่ที่ 80 ปี ซึ่งมากกว่าผู้ชายไทยที่มีอายุเฉลี่ย 72 ปี ถึง 8 ปีเนื่องจากผู้ชายมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า แต่หากอนุญาตให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย จะส่งผลให้ผู้หญิงไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้นจนอายุสั้นเท่ากับผู้ชายที่ 72 ปี
“วันนี้เรากำลังรบในสงครามที่ยากจะเอาชนะ เป็นสงครามทุนนิยมที่มีเงิน 1 ล้านล้านบาท แต่เรามีโอกาสชนะถ้ามีความร่วมมือกันในทุกฝ่าย ทุกภาคีเครือข่าย นอกจากนั้นยังต้องอาศัยความร่วมมือจากสื่อสาร ความร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ที่จะช่วยสื่อสารกับสังคมได้รับรู้ เราต้องใช้ทุกช่องทางและทุกกระบวนในการสื่อสาร โดยมีงานวิจัยว่า 1 บาทที่ได้ลงไปกับการทำงานด้านยาสูบ จะได้คืนมา 10 บาท ซึ่งเกิดจากอายุคนไทยที่ยืนยาวขึ้น แล้วกลับมาเป็นแรงงานของประเทศ ลดอัตราความพิการ ลดการป่วยติดเตียง แต่แต่ละบาทนั้นไม่สำคัญเท่ากับชีวิตคนไทยที่แข็งแรงขึ้น” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว
นพ.พงศ์เทพ กล่าว่า ในช่วงนี้เรามีความคาดหวังว่า จะชวนอินฟลูเอนเวอร์ต่างๆที่มาช่วยให้ความรู้กับสังคม โดยเฉพาะกับเยาวชนเพราะว่า บางครั้งการที่เรามีฟลูเอนเซอร์ที่มีความน่าเชื่อถือที่เป็นทั้งอาจารย์ อาจารย์แพทย์ หรือคนในสังคมรวมถึงตัวเยาวชนที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์มาให้ความรู้สื่อสารเรื่องสุขภาวะที่เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและสำคัญโดยเฉพาะประเด็นเรื่องของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ที่ตอนนี้บุหรี่ไฟฟ้ากำลังรุกหนักไปที่เยาวชน ปรากฏว่าตอนนี้อาจมีเยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้าไปถึง 20-25% ที่อาจจะเกิดการที่มีร้านขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหรือมีการขายออนไลน์ รวมถึงที่มีผู้ใหญ่แอบไปขายให้เด็ก หรือเด็กขายให้เด็กซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัว
ดังนั้นอินฟลูเอนเซอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะบอกถึงความเชื่อผิดๆ เช่น บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน หรือไม่อันตรายเลย เป็นต้น ดังนั้นถ้าเรามีคนมาช่วยกันสื่อสารก็จะดีมาก ในส่วนตนคิดว่า เราจะไม่ได้คาดหวังเฉพาะแต่อินฟลูเอนเซอร์เท่านั้นเราคาดไปทั้งวิทยาลัยต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู โรงเรียนต่างๆโดยนักเรียนในกลุ่มเจน Z จะเป็นบุคคลสำคัญในการสื่อสารกับคนรอบข้าง สังคมให้รู้ทันภัยของบุหรี่ไฟฟ้าให้มากขึ้น
ขณะเดียวกันเรื่องของกฎหมายที่มีฝ่ายการเมืองอยากจะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย ส่วนภาคีที่ทำงานในเรื่องดังกล่าวหวั่นว่า หากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านขึ้นมา ในส่วนของภาคีจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร ซึ่งในเรื่องดี นพ.พงศ์เทพ ได้กล่าวว่า จริงๆแล้วเรามีความคาดหวังว่ากฎหมายน่าจะยังคงอยู่ในการให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่ถ้ามีคำถามว่าถ้าเกิดมีอะไรที่เปลี่ยนแปลง ตนคิดว่า ส่วนสำคัญคือกลุ่มของประชาชนจะเป็นบุคคลสำคัญ เพราะว่าวันนี้ต้องบอกเลยว่าผู้ปกครองมีความกังวลค่อนข้างมาก และตราบใด้ที่ภาครัฐไม่สามารถปกป้องเยาวชนของเขาได้ ตนคิดว่าทุกคนจะลุกขึ้นมาบอกภาครัฐว่า มีความจำเป็นต้องปกป้องเยาวชน และที่สำคัญไม่เฉพาะแต่เยาวชนเท่านั้นทุกคนมีโอกาสที่จะติดบุหรี่ไฟฟ้าได้หมด เรามีความรู้มากพอที่จะบอกได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายแค่ไหน แต่เราอาจจะต้องมีกระบวนการในการบังคบใช้กฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้น มีกระบวนการทางสังคมที่จะรณรงค์ให้ความรู้ที่มากขึ้นและไม่หวังพึ่งแต่ภาครัฐเพียงอย่างเดียว เราต้องคาดหวังว่าทุกคนในสังคมจะต้องลุกขึ้นมาปกป้องตัวเอง ซึ่งเป็นโจทย์ที่สำคัญและหวังว่าเราจะอาศัยภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการปลุกสังคม ที่เรียกว่าเติมพลัง ปลุกความคิด เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่และบุหรี่ฟ้า
อย่างไรก็ตาม พ.ต.ต.นพ.วรพล ได้พูดถึงอินฟลูเอนเซอร์ที่มาให้ความรู้ถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า ว่า เป็นเรื่องที่ต้องออกมาให้ความรู้เพราะว่า มีเด็กและเยาวชนเกินกว่าครึ่งไม่รู้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตราย และหลายคนยังเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่อันตราย ที่ตนเองมาทำงานตรงนี้เพราะอยากให้ความรู้บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร อันตรายอย่างไร และอยากทำประโยชน์ให้สังคม จึงได้ทำคลิปอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า แต่มีหลายคนบอกว่าสูบมาตั้งนานไม่เห็นเป็นอะไร ตนพยายามหาข้อมูลที่เป็นงานวิจัยที่เชื่อถือและถูกต้องมาให้คนได้ดูกัน ส่วนคนที่บอกว่าสูบมานานไม่เห็นเป็นอะไร เพราะตอนที่เขาเป็นอะไรแล้วไม่สามารถส่งเสียงร้องบอกสังคมได้เช่นกัน
ทางด้าน ดร.ศรีรัช ลาภใหญ่ อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้จัดการโครงการ Product Watch กล่าวว่า อินฟลูเอนเซอร์มีบทบาทต่อเด็กและเยาวชน รวมทั้งแพลทฟอร์มต่างๆที่มีการส่งเสริมการขายผ่านออนไลน์ที่ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงง่าย จึงอยากจะฝากไปยังรัฐบาลชุดนี้ว่า รัฐบาลมีหน้าที่ปกป้องเยาวชนไทยจากภัยดิจิทัลต่าง รัฐต่องส่งเสียง ติด#ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้าและปกป้องเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า
You must be logged in to post a comment Login