- ปากท้อง-ยานรกหนักสุดในชีวิตPosted 10 hours ago
- ขอให้ชีวิตอยู่ได้ทุกสถานการณ์Posted 1 day ago
- กันไว้ดีกว่าแก้Posted 2 days ago
- ให้รางวัลทางศีลธรรมบ้างPosted 3 days ago
- เลิกเป็นทาสยาเสพติดPosted 4 days ago
- ต้องรู้ทันแก็งค์คอลเซ็นเตอร์Posted 1 week ago
- อวิชชาบังตาPosted 1 week ago
- รักษาราชประเพณีPosted 1 week ago
- สำนึกผิด โอกาสเป็นบัณฑิตได้Posted 1 week ago
- ระวังฟืนไฟให้ดีPosted 2 weeks ago
สสส.จับมือ จิตวิทยา จุฬาฯหนุนสร้างองค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต
อึ้ง!!! พบคนวัยทำงาน 40% มีความเครียดสูง เหตุ ปัญหาเศรษฐกิจ-ความไม่แน่นอน กระทบสุขภาพกาย-ใจ เสี่ยงต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน สสส.จับมือ จิตวิทยา จุฬาฯหนุนสร้างองค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต มุ่งขยายผลเป็นองค์กรต้นแบบแก่สังคมไทย
เมื่อเร็วๆนี้ที่ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประกาศรางวัลสุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต Thai Mind Awards 2025 ภายใต้โครงการพัฒนากลไกวิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านสร้างเสริมสุขภาพจิต เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนให้คนไทยมีสุขภาพจิตดี
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสสส. กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพจิตเป็นภัยคุกคามต่อคนทำงาน ตลอดจนศักยภาพของคนทำงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตในปัจจุบัน ทั้งในระดับโลกและประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น หากเจาะกลุ่มวัยทำงาน ผลสำรวจสุขภาพจิตพนักงานไทย ปี 2566 โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบคนวัยทำงานในไทย 40% มีระดับความเครียดสูง สาเหตุมาจากปัญหาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน ความไม่แน่นอนทางธุรกิจ ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 สอดคล้องกับรายงานผลการประเมินสุขภาพจิตตนเอง 8.5 แสนคน ระหว่างเดือน ต.ค. 2566 – เม.ย. 2567 พบว่า ผู้เข้ารับการประเมินเสี่ยงป่วยซึมเศร้า 17.2% เครียดสูง 15.4% เสี่ยงฆ่าตัวตาย 10.6% นำมาสู่ผลกระทบต่อสุขภาพกายและในมิติอื่นๆ การดูแลสุขภาพจิตในกลุ่มวัยทำงานจึงเป็นเรื่องที่ผู้นำองค์กรต้องให้ความสำคัญ
“สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตสำหรับประชาชนวัยทำงานในหลากหลายส่วน 1.พัฒนาหลักสูตรและวิทยากรเพื่อเสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานในองค์กร ดูแลประเมินสุขภาพจิต ให้คำปรึกษาเบื้องต้น 2.เสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต และการส่งเสริมสุขภาพจิตในสถานที่ทำงาน 3.พัฒนาและสื่อสารให้ประชาชนใช้เครื่องมือประเมินปัญหาสุขภาพจิต เช่น แอปพลิเคชัน DMIND คัดกรองภาวะซึมเศร้า เพื่อดูแลสุขภาพจิตได้ด้วยตนเอง 4.ขับเคลื่อนโครงการ Happy Work Place ที่เป็นฐานงานสร้างเสริมสุขภาพวัยทำงาน 5.การประเมินสุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต ที่เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งด้านการงานและด้านจิตใจของบุคลากร ว่าในแต่ละองค์กรให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางจิตของพนักงาน มากน้อยเพียงใด มีการปฏิบัติหรือมีโครงการใดเพื่อยกระดับสุขภาวะทางจิตแก่บุคลากรหรือไม่ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาสุขภาพจิต สู่การเป็นองค์กรต้นแบบด้านสุขภาวะทางจิตแก่สังคมไทย” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า บุคคลที่อยู่ในองค์กรแล้วมีความสุขในการทำงานมากขึ้น โดยเพื่อนร่วมงานสามารถให้กำลังใจซึ่งจะเสริมพลังซึ่งกันและกันในการทำงาน เมื่อเขาทุกข์ เขาท้อเขาสามารถปรึกษาได้ และมีคนในองค์กรที่ดูแลเยียวยาจิตใจเขาได้ก็จะเกิดพลังในการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงานจะสูงขึ้น ซึ่งมันจะส่งผลต่อองค์กรจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น ผลงานออกมาดี บริษัทจะได้กำไรมากขึ้น ซึ่งแต่ละบริษัทถ้าดูแลบุคลากรได้ดีในการทำงานประเทศไทยก็จะสามารถมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน
“ จุฬาฯ ร่วมสร้างโมเดลต้นแบบกับองค์กรต่างๆ เราอยากเห็นองค์กรอื่นๆที่สนใจสามารถเข้ามมาเรียนรู้ร่วมกัน หรือไปศึกษางานในองค์กรเพื่อนที่ต่างๆ สามารถนำเอาแนวทางนำกลับไปเป็นเครื่องมือทำให้ทุกคนในองค์กรมีสุขภาพทางจิตที่ดี ก็จะขยายผลไปได้โดยที่องค์กรต่างๆสามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถสร้างเป็นแบบอย่าง เพื่อเชิญชวนให้องค์กรต่างๆที่สนใจมาเข้าร่วมซึ่งสามารถขยายผลไปยังที่ต่างๆได้ทั่วประเทศ” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เป็นโครงการTHAI MIND AWARDS จัดทำขึ้นมาระหว่างจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และหน่วยงานต่างๆ วัตถุประสงค์คือเป็นโครงการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในประเทศไทย วันนี้บทบาทของของมหาวิทยาลัยเปลี่ยนไปไม่ได้จำกัดแต่เรื่องของการเรียนเท่านั้น มีบทบาทที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งวันนี้ไม่ได้พูดถึงสุขภาพกายเท่านั้นวันนี้เราพูดถึงสุขภาพจิต โครงการ THAI MIND AWARDS จึงเป็นโครงการที่เกิดขึ้นที่เห็นถึงความสำคัญของการทำงานสุขภาวะจิต โดยคณะจิตวิทยา จุฬาฯร่วมกับ สสส.จัดงานครั้งนี้เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาบุคคลากรในองค์กร ซึ่งเราเชื่อว่าองค์กรจะขับเคลื่อนไปได้บุคลากรในองค์กรมีสุขภาวะจิตที่ดี โครงการนี้จึงเป็นโครงการที่ตั้งให้องค์กรที่ได้รับรางวัลเป็นแบบอย่างต้นแบบในการพัฒนาบุคลากรที่มีสุขภาพจิตดี ที่ไม่ได้ดูแลแค่เรื่องเงิน หรือกาย สุขภาพจิตที่ดี จะส่งผลที่ดีต่อสังคมและครอบครัว และส่งต่อไปยังบุคลากรต่างๆในวงกว้างทั่วประเทศ
ดังนั้นเรื่องของสุขภาวะจิตในวันนี้มีความสำคัญมากว่าเดิม แต่วันนี้สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือผลกระทบทางจิตใจที่ต้องดูแลทั้งผู้เรียนและเยาวชน ประชาชน จึงไม่ใช่เป็นการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่วันนี้ทุกคนได้รับผลกระทบจากโซลเซียล ผลกระทบจากสื่อต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ เราอยากเห็นว่าเยาวนไทยในปัจจุบันรวมถึงผู้สูงวัยมีอาการทางด้านสภาวะจิตเยอะ อาจเลยไปถึงการฆ่าตัวตายหรือมีภาวะซึมเศร้าเยอะขึ้น การแก้ไข้จึงเริ่มจากที่เราให้ความสำคัญกับสุขสภาวะต่างๆ วันนี้เป็นอีกหนึ่งบทบาทที่หลายองค์กรข้ามาร่วมกันสร้างต้นแบบ เราเชื่อว่าผลกระทบต่างๆทางจิตใจสามารถแก้ได้จากการที่เราร่วมกัน พัฒนาความแข็งแกร่งทางจิตใจ วันนี้เราป้องกันPM2.5 ฉันใดเราก็ต้อปเองกันฝุ่นในจิตใจฉันนั้น
“ในวันนี้ปัญหาสุขภาวะจิตเราไม่ได้แค่การเผชิญหน้าเพียงอย่างเดียวยังมีโลกออนไลน์ที่ทำให้เรามีความเครียด ดังนั้นเราต้องทำให้จิตใจมีความเข้มแข็งทั้งการเผชิญหน้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ดังนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านการวิจัยและพัฒนาวิชาการระดับสากล ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาวะของบุคลากรในองค์กรมาโดยตลอด โครงการ “Thai Mind Awards” จึงถือเป็นก้าวสำคัญที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีบทบาทในการสร้างแรง บันดาลใจและผลักดันให้องค์กรไทยตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาวะทางจิต อันจะเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรภายในองค์กรให้ยั่งยืน”ศ.ดร.วิเลิศ กล่าว
ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันTIMS กล่าวว่า โครงการ Thai Mind Awards เป็นการร่วมมือกับ สสส. ส่งเสริมให้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาวะทางจิต และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการได้เริ่มเปิดรับสมัครคัดเลือกสุดยอดองค์กรส่งเสริมสุขภาวะทางจิตจากทั่วประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. 2567 และได้ดำเนินการตามแผนงาน คือ 1.พัฒนาระบบและเกณฑ์การคัดเลือกสุดยอดองค์กรส่งเสริมสุขภาวะ ตามแนวคิดต้นแบบ 5 มิติ ของ GRACE ที่คณะจิตวิทยาได้พัฒนาขึ้น และเกณฑ์ประเมินผลงานตามหลัก FEEL (Formulate, Enact, Evaluate และ Leverage) 2.ประชาสัมพันธ์ให้องค์กรทั่วประเทศไทยเข้าร่วมส่งผลงาน และร่วมตอบแบบสำรวจ Workplace Well-being 3.ตั้งคณะกรรมการคัดเลือก Thai Mind Awards และสำรวจแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมสุขภาวะจากองค์กรในประเทศไทย
ผศ.ดร.ณัฐสุดา กล่าวต่อว่า จากการดำเนินงานดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากองค์กรที่ร่วมสมัครคัดเลือกจำนวน 60 แห่ง ผ่านการคัดเลือกเป็นสุดยอดองค์กรส่งเสริมสุขภาวะ 11 แห่ง โดยแบ่งเป็น 5 สุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (The Excellence in Thai Mind Awards) คือ 1.บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) 2.เอไอเอ ประเทศไทย 3.บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด สาขาปราจีนบุรี 4.บริษัท ยีอี เมดิคอล ซิสเต็มส์(ประเทศไทย) จำกัด 5.โรงพยาบาลเพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชาและ 6 องค์กรที่มีความโดดเด่นในมิติต่าง ๆ (The Honorable Mention Awards) คือ 1.ดิ แอสเพนทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์ 2.บริษัท เอเอ็นซี โบรเกอเรจ จำกัด 3.บริษัท ซีเมนส์ เฮลธ์แคร์จำกัด 4.บริษัท ทีดีซีเอ็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด5.โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์6.บริษัท สิ่งทอซาติน จำกัด และ บริษัท เท็กซ์ไทล์แกลลอรี่ จำกัด (ในนามของ PASAYA)
You must be logged in to post a comment Login