- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
“ชนซ้ำรอยหมอกระต่าย” ศวปถ.เสนอเข้มความปลอดภัยบนทางม้าลาย

“ชนซ้ำรอยหมอกระต่าย” ศวปถ.เสนอเข้มความปลอดภัยบนทางม้าลาย-ทบทวนหรือปรับตำแหน่งทางม้าลาย Mid-Block ให้อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ต้องมีสัญลักษณ์-สัญญาณไฟ-เครื่องหมายต้องชัดเจน-หยุดรถ-ไม่แซงขวา คนข้ามประเมินซ้ำ บังคับใช้กฎหมาย-มาตรการ จำกัด 60 กม/ชม. สร้างทางม้าลายพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนข้ามถนน
จากกรณีจักรยานยนต์ฝ่าไฟแดงชนชาวเกาหลีใต้ อายุ 68 ที่ข้ามทางม้าลาย จนได้รับบาดเจ็บ บริเวณถนนพญาไท หน้าโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ กรุงเทพฯ จุดเดียวกับ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือหมอกระต่าย ประสบอุบัติเหตุถูกรถบิ๊กไบค์ชน ขณะกำลังเดินข้ามทางม้าลาย บาดเจ็บสาหัส ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งผ่านวันครบรอบ 3 ปี การเสียชีวิตของหมอกระต่ายเพียงไม่กี่วันที่ผ่านมา
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการขับขี่ที่ไม่เคารพกฎจราจร โดยเฉพาะบริเวณทางม้าลายที่ตามกฎหมาย ควรชะลอความเร็ว เพื่อให้ทางสำหรับคนข้ามถนน หรือรอให้คนข้ามถนนก่อน จึงค่อยขับรถผ่านไปได้ จากการสํารวจ ของ สสส. และ มูลนิธิไทยโรดส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร เทียบระหว่างเดือน ม.ค.2565 และ ม.ค. 2566 พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนการหยุดรถบริเวณทางข้ามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 11% เป็น 13% รถจักรยานยนต์มีแนวโน้มรถบริเวณทางข้ามเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 11% ในขณะที่รถโดยสารมีแนวโน้มหยุดรถบริเวณทางข้ามลดลงจาก 20% เหลือเพียง 15% 5 จุดสำรวจที่มีแนวโน้มการหยุดรถบริเวณทางข้ามเพิ่มขึ้นเช่นบริเวณบิ๊กซีสะพานควายเพิ่มจาก 4% เป็น 15% พหลโยธินซอย 19 เพิ่มจาก 3% เป็น 8% หน้าโรงพยาบาลสถาบันไตรภูมิราชนครินทร์เพิ่มจาก 6% เป็น 7% ตลาดยิ่งเจริญเพิ่มจาก 16% เป็น 21% เอกมัย ซอย 2 เพิ่มจาก 10% เป็น 26% แต่ยังมีการใช้ความเร็วเกิน 30 กม./ชม. ก่อนถึงทางม้าลาย ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนทางม้าลายบ่อยครั้ง

“ขอเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ดังนี้ 1. ด้านกายภาพที่ต้องทำให้ชัดเจน เช่น การทำสัญลักษณ์ การขีดสี ตีเส้น บนพื้นถนน ทาสีแดง มีลูกระนาด เส้นบีบเลน เพื่อเตือน และชะลอความเร็ว รวมทั้งสัญญาณไฟกดรถหยุดเพื่อข้าม ต้องมีการประเมินความเร็ว และการชะลอหยุดได้ทันตามที่ได้ออกแบบมาหรือไม่ เช่น หากไม่สามารถหยุดตามที่กำหนดได้ ต้องเพิ่มเครื่องหมายที่ชัดเจน ไฟแดงหยุดที่มีระยะแดงทั้ง 2 ทิศทางครอบคลุมทุกเลนถนน 2-3 วินาที เพื่อเพิ่มจังหวะเตือนให้คนข้าม และรถหยุดพร้อมกัน 2. ด้านพฤติกรรมคน โดยเฉพาะคนขับขี่จักรยานยนต์ ต้องสื่อสารให้รับรู้ว่าเมื่อเห็นรถชะลอก่อนทางม้าลาย ต้องชะลอหยุด ไม่แซงออกขวา เพราะอาจไม่เห็น และเสี่ยงต่อการชนคนข้าม รวมทั้งต้องมีมาตรการกำกับหรือเอาผิดกรณีไม่ชะลอหยุดอย่างจริงจังมากขึ้น คนข้ามถนน ควรเพิ่มการเรียนรู้ และสร้างความตระหนักให้มีการ “ประเมินซ้ำ” ก่อนข้ามเสมอ แม้สัญญาณไฟเขียวคนข้าม แต่ก็ควรประเมินซ้ำ โดยมองซ้ายก่อนข้ามอีกครั้ง เพราะอาจมีผู้ฝ่าฝืน ซึ่งกรณีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา ควรเพิ่มการแจ้งเตือนเพิ่มเติมถึงการสัญจรบนถนนในไทย” นพ.ธนะพงศ์ กล่าว

นพ.ธนะพงศ์ กล่าวต่อว่า ในระยะยาว จุดข้ามทางม้าลาย ที่ตั้งกลางระหว่างแยก (Mid-Block) ควรทบทวนปรับ/ย้าย หรือจัดทำสะพานลอย อุโมงค์ข้าม เพราะรถที่มาจากทางแยก เมื่อได้ไฟสัญญาณหรือซ้ายผ่านตลอด มักจะทำความเร็ว และชะลอหยุดได้จำกัด นอกจากนี้ราชกิจจานุเบกษา ประกาศการใช้ความเร็วเขตเมือง ที่จำกัด 60 กม/ชม. ทำอย่างไรจะมีการบังคับใช้ได้จริง เพราะถ้าความเร็วเฉลี่ยลดลง ช่วยให้การชะลอหยุดทำได้ง่ายขึ้น จากความสูญเสีย และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น หวังว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในไทย ที่ ‘ทางม้าลายจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนข้ามถนน’
You must be logged in to post a comment Login