- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
ทอท. ขอเปิดห้องสูบบุหรี่ในสนามบินสุวรรณภูมิ เตรียมเข้า คผยช. พิจารณา 7 ก.พ. นี้

ทอท. ขอเปิดห้องสูบบุหรี่ในสนามบินสุวรรณภูมิ เตรียมเข้า คผยช. พิจารณา 7 ก.พ. นี้ สวนทางนานาชาติ ที่เดินหน้าสนามบินปลอดบุหรี่ 100% เหตุส่งกลิ่นเหม็นฟุ้ง พร้อมเผยผลวิจัย 4 สนามบินนานาชาติไทย เคยมีห้องสูบ ปล่อย PM 2.5 ระดับอันตรายต่อสุขภาพ
วันที่ 5 ก.พ. 2568 รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับข้อมูลจากกรรมการคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ (คผยช.) ที่มีความกังวลเป็นอย่างมาก ว่า การประชุม คผยช.วันที่ 7 ก.พ. นี้ จะมีวาระพิจารณากรณี บ.ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เสนอขอให้พิจารณาอนุญาตให้มีการเปิดห้องสูบบุหรี่ภายในอาคารสนามบินสุวรรณภูมิได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง เพราะกฏหมายกำหนดไม่ให้มีห้องสูบบุหรี่ ในสนามบินทุกแห่งในประเทศไทย ทั้งสนามบินภายในประเทศและสนามบินนานาชาติตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว หากจะมีการแก้กฏหมายให้มีห้องสูบบุหรี่ในสนามบินอีก จะไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ที่พยายามสร้างมาตรฐานเป็นสนามบินคุณภาพ ปลอดภัยสำหรับทุกคน หากปล่อยให้เรื่องนี้สามารถทำได้ จะยิ่งทำให้สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้รับการประเมินคุณภาพมาตรฐานหรือไม่ ยิ่งในมิติสุขภาพ เป็นที่ทราบดีว่าควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่เฉพาะผู้สูบเท่านั้น แต่ยังสร้างผลกระทบกับคนที่ไม่สูบด้วย

“มีการวิจัยในสนามบินนานาชาติ 4 แห่งของไทย คือสนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ และภูเก็ต เมื่อปี 2556 ได้วัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ได้เฉลี่ย 532.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินระดับสีม่วง และวัดได้ 50.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ที่ระยะ 1 เมตรจากห้องสูบบุหรี่ ขณะที่ในจีนซึ่งมีคนสูบบุหรี่จำนวนมาก แต่สนามบินใหญ่ 4 แห่ง คือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ 2 แห่ง และเซินเจิ้น ไม่มีห้องสูบบุหรี่ในสนามบิน และข้อมูลจากมูลนิธิสิทธิของผู้ไม่สูบบุหรี่ สหรัฐอเมริกา พบว่า ในปี 2560 มีสนามบินที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุด 23 แห่ง จาก 50 แห่งทั่วโลก เป็นสนามบินปลอดบุหรี่ 100% และมีแนวโน้มว่า สนามบินต่างๆ ประกาศไม่ให้มีห้องสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นทั่วโลก แต่ไทยกลับกำลังจะทำสวนทาง” รศ.ดร.เนาวรัตน์ กล่าว
รศ.ดร.เนาวรัตน์ กล่าวอีกว่า การมีมาตรการห้ามสูบบุหรี่บนเครื่องบิน และในอาคารผู้โดยสาร เริ่มจากพบรายงานว่าแอร์โฮสเตสที่ไม่สูบบุหรี่ป่วยเป็นมะเร็งปอดจากการได้รับควันบุหรี่มือสองในที่ทำงานบนเครื่องบินของสหรัฐอเมริกา ทางการสหรัฐฯ จึงออกกฎห้ามสูบบุหรี่ในเที่ยวบินที่บินต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ในปี 2533 จากนั้นก็มีการประชุม Campaign for Smoke-free Sky ที่เมืองบัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา เมื่อปี 2535 ในการประชุมบุหรี่และสุขภาพโลกครั้งที่ 8 โดยมีผู้แทนจากองค์กรการบินระหว่างประเทศ และผู้แทนด้านการบินพลเรือนจากประทศต่างๆ รวมถึงตนก็มีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมด้วย จากการหารือที่ประชุมตกลงให้เวลา 4 ปี คือภายในปี 2539กำหนดให้ห้ามสูบบุหรี่ในทุกเส้นทางบินทั่วโลก ไม่ว่าสั้นหรือยาว โดยสายการบินแอร์แคนาดาได้ออกกฎห้ามสูบบุหรี่ในเที่ยวบินที่บินไกลกว่า 2 ชั่วโมงเป็นประเทศแรก จากนั้นสายการบินต่างๆ ได้ทยอยออกประกาศห้ามสูบบุหรี่บนเที่ยวบินจนครบ 100% ก่อนปี 2539

“สถานการณ์ทั่วโลกสนามบินต่างๆ ยังทยอยออกประกาศพื้นห้ามสูบบุหรี่ต่อเนื่อง สำหรับไทย สายการบินไทยได้ห้ามสูบบุหรี่ในเที่ยวบินภายในประเทศและในเอเชีย จนได้รับเหรียญรางวัลวันไม่สูบบุหรี่โลก จากองค์การอนามัยโลก เมื่อปี 2535 ขณะนั้นยังมีห้องสูบบุหรี่ภายในอาคารสนามบิน ซึ่งได้ส่งกลิ่นเหม็นควันบุหรี่ออกมาบริเวณใกล้เคียง ต่อมา ปี 2553 ไทยได้ลงสัตยาบันในอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลกครบ 5 ปี และได้ปรับกฎหมายห้ามมีเขตสูบบุหรี่ หรือห้องสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะทั่วประเทศ ตามที่อนุสัญญาฯ กำหนด ยกเว้นสนามบินนานาชาติ ซึ่งต่อมา ปี 2561 ได้มีกฎหมายยกเลิกห้องสูบบุหรี่ภายในสนามบิน ทั้งภายในประเทศและนานาชาติ จึงขอให้คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ได้พิจารณาด้วยการให้ความสำคัญกับสุขภาพของทุกคนที่ใช้สนามบิน โดยไม่ถอยหลังกลับไปอนุญาตให้มีห้องสูบบุหรี่อีก ซึ่งชื่อสนามบินของประเทศไทย ได้ปรากฏอยู่ในเอกสารนานาชาติแล้ว ว่าเป็นสนามบินที่ปลอดบุหรี่ 100%” รศ.ดร.เนาวรัตน์ กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงกรณี บ.ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เสนอขออนุญาตทำห้องสูบบุหรี่ในสนามบิน ว่า รายงานของนายแพทย์ใหญ่กระทรวงสาธารณะสุข สหรัฐอเมริการะบุว่า ไม่มีระดับความปลอดภัยของควันบุหรี่มือสอง การมีห้องสูบบุหรี่ไม่สามารถแก้ปัญหาอันตรายจากควันบุหรี่มือสองได้ ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดๆ ทั้งการแยกระบบอากาศ เครื่องฟอกอากาศทุกชนิด ขณะที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า การมีห้องสูบบุหรี่จะทำให้พนักงานที่ทำงานในบริเวณที่ใกล้ชิดกับห้องสูบบุหรี่ โดยเฉพาะพนักงานที่ต้องเข้าไปทำความสะอาดในห้องสูบบุหรี่ หนีไม่พ้นที่จะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสองและมือสามที่ตกค้างอยู่ภายในห้องสูบบุหรี่
“หนึ่งในการแก้ปัญหาให้ผู้ที่อยากสูบบุหรี่ในสนามบินที่ไม่มีห้องสูบบุหรี่ คือการจัดให้มียาอดบุหรี่ขายในสนามบิน เช่นหมากฝรั่ง หรือแผ่นแปะนิโคติน เพื่อให้คนที่อยากสูบบุหรี่มากจริงๆ ซื้อไปใช้เพื่อลดอาการอยากบุหรี่ วิธีนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าการกลับไปสร้างห้องสูบบุหรี่ ที่ต้องลงทุนไม่น้อย และเป็นภาระในการบำรุงรักษาอุปกรณ์และความสะอาดของห้อง อีกทั้งยังสร้างมลพิษในอากาศให้แก่สนามบิน สวนทางกับนโยบายของทอท. ที่ต้องการให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นสนามบินสีเขียว มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และปลอดภัยต่อสุขภาพของทุกคนที่มาใช้บริการของสนามบิน” ผศ.ดร.นพ.วิชช์ กล่าว
You must be logged in to post a comment Login