- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 1 month ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 1 month ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 1 month ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
เดินหน้าสร้างสุขคนข้ามเพศดันสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาวะที่เท่าเทียม

ปิดฉากไปแล้วสำหรับเวทีประชุมระดับชาติ “ข้ามเพศมีสุข” ครั้งที่ 2 ระดมความคิด/ความต้องการของคนข้ามเพศเพื่อกำหนดทิศทางด้านสุขภาพ-สิทธิประโยชน์พื้นฐาน รวมแสดงพลังผลักดันนโยบายด้านสุขภาวะ และการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนข้ามเพศ
กรงขังทางจิตใจทรมานกว่ากรงขังทั่วไป
“กรงขังที่ร้ายที่สุดไม่ใช่กรงขังทั่วไป แต่เป็นกรงขังทางจิตใจ จำได้ว่า มีเพื่อน น้องๆหมอหลายคนเขาอยู่ในกรงขังจิตใจ เขาเป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ไม่สามารถแสดงออกได้ มีวันหนึ่งที่เราได้มานั่งคุยเปิดใจกัน มีหมอหลายคนมาเล่าถึงความทุกข์ที่เกิดขึ้นว่า ความทุกข์ ความเครียด หรือความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นกับคนไข้บางทีมันมีส่วนที่ซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึกที่บอกว่า เขาถูกกดดันตั้งแต่เด็กๆเขาไม่สามารถแสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศได้ สิ่งเหล่านี้เราจะบอกถึงการมีคุณภาพชีวิตหรือความสุข เรื่องสุขภาวะทางเพศมีความสำคัญมาก เพราะถ้าเขารู้สึกว่ามันไม่ใช่ความสุขตลอดชีวิต เขาไม่สามารถแสดงออกได้มันคือความทุกข์ตลอดชีวิต”

จากการเกริ่นนำในการเปิดการประชุมระดับชาติ:สุขภาวะของคนข้ามเพศ (ข้ามเพศมีสุข)ครั้งที่ 2 ของ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และยังได้กล่าวถึงภาพรวมของคนข้ามเพศว่า ภาพรวมเหมือนว่าสังคมไทยเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่บางส่วนยังคงต้องเผชิญกับการกีดกันหรือการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เห็นชัดจากผลการศึกษาดัชนีการตรีตราผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี ในประเทศไทย ปี 2566 ของมูลนิธิผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเอชไอวี พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการเคยผ่านประสบการณ์ถูกเลือกปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพ 16% ซึ่งกลุ่มบุคคลข้ามเพศถูกเลือกปฏิบัติสูงสุด 25% รองลงมาคือพนักงานบริการทางเพศ 23% และผู้ใช้สารเสพติด 19% รวมทั้งในกลุ่มคนข้ามเพศมีความต้องการเปลี่ยนแปลงร่างกาย เพื่อให้เป็นเพศที่ตรงกับอัตลักษณ์ของตนเองโดยการใช้ฮอร์โมน ทำให้เกิดอันตรายจากการใช้ฮอร์โมนเกินขนาด ใช้ผิดประเภท และใช้อย่างผิดวิธี โดยเฉพาะจากการซื้อหาตามท้องตลาด โดยไม่มีแพทย์แนะนำ
“สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย รับฟังเสียงและสะท้อนปัญหาความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมายสมรสเท่าเทียม การถูกเลือกปฏิบัติ การมีสิทธิในด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงหนุนเสริมการทำงานของชุมชนคนข้ามเพศ เพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคม ส่งผลให้กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการสนับสนุนจาก สปสช. จัดสรรงบบัตรทองในปี 2568 เพื่อรองรับบริการด้านสุขภาพที่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ยาฮอร์โมนสำหรับกลุ่มคนข้ามเพศได้สำเร็จ การประชุมสุขภาวะของคนข้ามเพศ ครั้งที่ 2 นี้ จึงเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชนคนข้ามเพศ ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายด้านสุขภาวะ และการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงบริการสุขภาพของตนเอง” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
ปัญหาสุขภาวะของคนข้ามเพศ เหมือนภูเขาน้ำแข็ง
ณชเล ภิสมภาร ตัวแทนคณะทำงานจัดงานประชุมสุขภาวะของคนข้ามเพศ กล่าวว่า จริงๆแล้วปัญหาด้านสุขภาวะของคนข้ามเพศมีขนาดใหญ่ที่เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง ที่มีขนาดใหญ่มากอยู่ใต้น้ำหลายครั้งเราไม่เคยมีพื้นที่ในการพูดถึงปัญหา ซึ่งคนข้ามเพศได้มีการพูดถึงการมีสุขภาวะที่ดีในสังคมไทย ประเทศที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของคนข้ามเพศ การผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายเราจะต้องทำงานร่วมกันกับภาคีเครือค่าย ปรากฎการณ์ของความเกลียดชังทำให้เรารู้ว่าเราไม่สามารถทำงานอย่างโดดเดี่ยวได้อีกต่อไปเราต้องมาทำงานร่วมกันในวันนี้ หากเป็นการทำงานร่วมกันจะทำให้สังคมไทยปราศจากความเกลียดชัง หรือตีตราไม่เลือกปฎิบัติต่อคนทุกกลุ่มและนี่คือโอกาสของการทำงานร่วมกัน

ปัญหาของคนข้ามเพศในอดีตจจะถูกตีตราจากภาครัฐ เช่น การเกณฑ์ทหารว่าที่ถูกตีตราว่าเป็นคนโรคจิต จิตไม่ปกติ ซึ่งเมื่อมีการร้องต่อศาลผลปรากฏว่าคนข้ามเพศไม่ใช่คนป่วยทางจิต ต้องเปลี่ยนเป็นคนที่มีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดซึ่งน้องน้ำหวานออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเองทำให้เกิดผลกระทบต่อคนข้ามเพศทุกคนที่ต้องเข้าสู่การเกณฑ์ทหารที่จะไม่ถูกตีตราว่าเป็นโรคจิต จิตผิดปกติอีกต่อไป และนี่คือการต่อสู้ที่เริ่มได้ตัวเองและอยากเห็นการต่อสู้ร่วมกับผู้อื่นและภาคอื่นเพื่อทำให้ผู้คนในสังคมมีความสุข สงบและปราศจากการเลือกปฏิบัติ
ณชเล กล่าวว่า การประชุมระดับชาติข้ามเพศมีสุข ครั้งที่ 2 คือ ผลสำเร็จจากการทำงานหนักของทุกภาคส่วนที่ทำให้สังคมไทยมีความปลอดภัยกับคนข้ามเพศมากขึ้น โดยเป็นการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเสียงของคนในชุมชนคนข้ามเพศ ภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคม ภาครัฐและผู้ให้บริการสุขภาพกับภาครัฐและผู้ให้บริการสุขภาพกับคนข้ามเพศ ได้เรียนรู้และถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรง เพื่อนำไปพัฒนาบริการสุขภาพที่เกี่ยวกับการข้ามเพศ และลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการเหล่านั้นให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในประเทศไทย จุดสำคัญของงานประชุมข้ามเพศมีสุขคือ การฉายภาพความร่วมมือจากภาคีที่มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อหนุนเสริมบริการสุขภาพที่เกี่ยวกับการข้ามเพศให้เป็นบริการที่เข้าถึงได้ง่าย มีคุณภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ และครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย
ภาครัฐขานรับสร้างสุขภาวะที่ดีให้คนข้ามเพศ
นพ.นิธิวัชร์ แสงเรือง ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การดำเนินงานของ สปสช. มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อนำความเห็นต่างๆ มาขับเคลื่อนในระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งในรูปแบบของการให้ความรู้คุ้มครองสิทธิ์ ช่วยให้เข้าถึงสิทธิ์ และไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ์ โดยมี สสส. และภาคีเครือข่ายความหลากหลายทางเพศที่ขับเคลื่อนและรวบรวมความเห็นในแง่มุมสุขภาพและบริการ ให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศนำมาเสนอเป็นสิทธิประโยชน์ ซึ่งการมีสิทธิประโยชน์ครอบคลุมยาฮอร์โมนสำหรับกลุ่มคนข้ามเพศที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่เพียงแต่ช่วยให้กลุ่มคนข้ามเพศสามารถเข้าถึงบริการยาฮอร์โมนได้อย่างปลอดภัย แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการด้านความรู้สึกภายใน ที่เกิดความเท่าเทียมด้านสุขภาพ และการเข้าถึงบริการที่ครอบคลุมสำหรับกลุ่มคนข้ามเพศในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม
นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า สช. ได้ขับเคลื่อนงานด้านบริการสุขภาวะคนข้ามเพศมาอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับ สสส. และภาคีส่งเสริมสุขภาวะคนข้ามเพศ จนเกิดข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย 3 ข้อ ได้แก่ 1.พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์การจัดบริการสำหรับคนข้ามเพศ 2.สร้างมาตรฐานคุณภาพของบริการเพื่อสุขภาวะคนข้ามเพศ 3.พัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้จัดบริการ ให้มีความละเอียดอ่อน เป็นมิตรสำหรับคนข้ามเพศ

นางพรรณี ชัยโพธิ์ศรี ผู้อำนวยการส่วนป้องกันและควบคุมโรค สำนักงานโรคติดต่อทางสาธารณสุข กล่าวว่า กทม. มุ่งมั่นให้ทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม โดยไม่แบ่งแยกเพศ เพราะความหลากหลายคือความสวยงาม การเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมก็คือสิทธิของทุกคน จึงได้ส่งเสริมให้มี Pride Clinic ที่ให้บริการด้านสุขภาพสำหรับกลุ่ม LGBTQIAN+ และคนข้ามเพศโดยเฉพาะ เพื่อส่งเสริมให้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยบุคคลเพศหลากหลายสามารถเข้ารับบริการสุขภาพฟรี ได้ที่โรงพยาบาลสังกัด กทม. 11 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุข 20 แห่ง คลอบคลุมบริการ ดังนี้ 1. คลินิกสุขภาพ LGBTQIAN+ 2. ตรวจรักษาโรคทั่วไป 3. ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) 4. ปรึกษาสุขภาพจิต 5. ตรวจวัดระดับฮอร์โมน
นพ.ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมอนามัยมีแผนการทำงานในปี 2568 นี้ ที่กำลังพัฒนาชุดความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพสำหรับกลุ่มบุคคลเพศหลากหลาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ และเสนอให้คณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนให้กลุ่มคนเพศหลากหลายมีระบบการบริการที่ตอบโจทย์ และครอบคลุมตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เข้าถึงการรักษา รวมถึงให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต เพื่อมุ่งเน้นให้มีความรอบรู้และมีสุขภาวะดีเท่าเทียมกับทุกคนในสังคม
10 ข้อเสนอของคนข้ามเพศ
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า งานประชุมระดับชาติสุขภาวะของคนข้ามเพศ ทำให้เห็นความต้องการและข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนเรื่องสุขภาวะทางเพศให้มีประสิทธิภาพ จากเสียงของชุมชนคนข้ามเพศใน 4 ภูมิภาค ใน 10 ข้อ ได้แก่ 1. จัดให้มีบ้านพักฉุกเฉิน สวัสดิการ การดูแลคนข้ามเพศสูงวัย 2. เพิ่มการศึกษาที่มีหลักสูตรเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ 3. ส่งเสริมอาชีพและการจ้างงาน 4. ผลักดันกฎหมายคำนำหน้านามรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ 5. คนข้ามเพศเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข และบริการสุขภาพสำหรับคนข้ามเพศ 6. หลักสูตรสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และด้านการศึกษา เพื่อให้บริการคนข้ามเพศ 7. สื่อสาธารณะที่สร้างความเข้าใจเรื่องคนข้ามเพศ 8. สถานที่สาธารณะที่เอื้อกับคนข้ามเพศ 9. ส่งเสริมให้คนข้ามเพศมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศในทุกระดับ 10. มีกองทุนสนับสนุนการทำงานสุขภาวะคนข้ามเพศ
You must be logged in to post a comment Login