- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
ปลาอานนท์ตายแล้ว ไม่เกี่ยวแผ่นดินไหว มาดูบทอัศจรรย์ของปลาอานนท์

ผู้เขียน : ดร.โสภณ พรโชคชัย
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 9 เม.ย. 68)
แผ่นดินไหวเมื่อ 28 มีนาคม 2568 ทำให้หลายคนคิดถึงนิทานเก่าๆ ที่ว่าแผ่นดินไหวเพราะปลาอานนท์พลิกตัว ซึ่งไม่มีในตำราทั้งพุทธและพราหมณ์ มาดูความจริงในเรื่องนี้กัน
ในหนังสือ “สารคดี” (https://lnkd.in/guxDCkGz) เขียนไว้ว่า “แรกเริ่มเดิมที ฝูงปลาในมหาสมุทรลงคะแนนเสียงโหวตให้ปลาอานนท์ดำรงตำแหน่งผู้นำ เวลานั้น ปลายังกินสาหร่ายและจอกแหนเป็นอาหาร วันหนึ่ง อานนท์ไม่ทันสังเกตว่ามีปลาตัวน้อยว่ายอยู่ในกอสาหร่าย จึงเผลอฮุบเข้าไปด้วย เคี้ยวกร้วมๆ แล้วรู้สึกว่า เอ๊ะ! วันนี้สาหร่ายอร่อยจริง เกิดสงสัยใคร่รู้ คายออกมาดู ถึงพบเศษศพปลา ปนกับพืชน้ำ จึงสรุปได้ว่ารสชาตินั้นคือโปรตีนจากเนื้อปลา พญาปลาก็สำคัญว่า รสปลานี้อร่อยหนักหนา แต่ก่อนไม่รู้ว่าจะอร่อยถึงเพียงนี้ จะทำอย่างไรจึงจะได้กินปลาทุกวันๆ”
“อานนท์รู้ดีว่าหากตนเองออกเที่ยวแหวกว่ายไล่จับบริวารมากินก็จะทำให้ฝูงปลาแตกตื่นหนีหายไปหมด จึงคิดวางแผนกลอุบาย นับแต่นั้นมา เวลาปลาทั้งหลายมาเข้าเฝ้าอานนท์ ขากลับออกไป ตัวไหนว่ายน้ำรั้งท้ายตามเพื่อนๆ ไม่ทัน ก็จะถูกจับกิน พอทำเช่นนี้บ่อยเข้า ปลาทั้งหลายชักเริ่มเอะใจว่าญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของตนหายหน้าไปไหน ดูร่อยหรอไปทุกที จากนั้นพยายามสังเกตดู จนรู้สึกว่าอานนท์มีพิรุธ ปลาน้อยตัวหนึ่งเลยรับอาสาเป็น “ปลานักสืบ” ให้ โดยเมื่อถึงเวลาเข้าเฝ้า ก็อาศัยจังหวะแอบไปหลบอยู่ในหูของอานนท์ (หูปลาอยู่ตรงไหน ? ใครรู้ช่วยบอกที) จึงได้เป็นประจักษ์พยานแห่ง “เมนูปลา” ตัวสุดท้าย”
“เมื่อตระหนักถึงความฉ้อฉลของราชา ข่าวคาวนี้ก็แพร่กระจายไปทั่วมหาสมุทร ฝูงปลาทั้งหลายจึงพากันหลีกเร้นกาย ไม่ไปเข้าเฝ้าอานนท์อย่างเคย เมื่อไม่มีเหยื่อเข้ามา อานนท์เริ่มหิวโหย จึงว่ายน้ำออกตามล่าฝูงปลา จนพบเกาะแห่งหนึ่งเข้า ดูท่าทีแล้ว คาดว่าพวกปลาเล็กปลาน้อยคงไปแอบหลบทางด้านหลังเกาะเป็นแน่ จึงกวาดหางอ้อมไปท้ายเกาะ แล้วค่อยๆ กระชับพื้นที่ เอาหางตีโอบเข้ามาทีละน้อย เหมือนอย่างคนล้อมวงตีอวนจับปลา แต่แล้วด้วยอารามหิวและโลภเจตนา พออานนท์มองเห็นปลายหางของตัวเองกระดิกไหวๆ อยู่ไกลๆ ทางด้านท้ายเกาะ ก็ดันเกิดไปนึกว่าเป็นปลาตัวอื่น จึงอ้าปากงับหางที่มองเห็นอย่างเต็มแรงจนหางขาด เลือดทะลักละลาย น้ำทะเลกลายเป็นสีแดงฉาน ปลาทั้งหลายได้กลิ่นคาวเลือดก็พากันมากลุ้มรุมกัดกินเนื้ออานนท์บ้าง ชั่วเวลาไม่นานก็เหลือแต่ก้างกองแหงแก๋อยู่”
ในอีกแง่หนึ่งในสารคดียังเขียนว่า “ที่มาสำคัญของเรื่องปลาอานนท์ “พลิกตัว” แล้วแผ่นดินไหว อาจมาจาก “บทอัศจรรย์” เช่นฉากเลิฟซีนระหว่างศรีสุวรรณกับนางเกษรา ในเรื่อง “พระอภัยมณี” ของสุนทรภู่. . .เผลอๆ เรื่อง “ปลาอานนท์พลิกตัว” อาจเริ่มต้นจากการเป็น “มุขตลกสัปดน” ซึ่งคนสมัยก่อนรู้จักกันดีก็เป็นได้ (๕๕๕)”
ในกลอนคำประพันธ์ของสุนทรภู่ซึ่งถือว่าเป็นบทอัศจรรย์ที่วาบหวามมากเขียนไว้ (วัชรญาณ ตอนที่ ๘ อภิเษกศรีสุวรรณ https://lnkd.in/gthTHzHn) ดังนี้:
“รู้ทำนองน้องแก้วเสียแล้วนะ ที่จะละเชิงลาอย่าสงสัย
พลางประโลมโฉมฉายสายสุดใจ ค่อยเคล้นไคล้เคล้าพุ่มปทุมมาลย์
ประคองเคียงเอียงแอบแนบเขนย ตระกองเกยกรกอดสอดประสาน
สายสมรผ่อนตามความสำราญ ฤดีดาลเดือดคะนองทั้งสองรา
ดังกำลังมังกรสำแดงฤทธิ์ ให้มืดมิดกลางทะเลแลเวหา
ลงเล่นน้ำดำดึ่งถึงสุธา สะท้านกระทั่งหลังปลาอนนต์นอน
ปลากระดิกพลิกครีบทวีปไหว เมรุไกรโยกยอดจะถอดถอน
มัตติมิงกลิ้งเล่นชโลทร คงคาคลอนคลื่นคลั่งฝั่งสินธู
สลุบแล่นลมหวนให้ป่วนคลื่น จะฝ่าฝืนไปไม่รอดก็จอดสู้
มังกรผุดพ่นฟองขึ้นฟ่องฟู ต่างร่วมรู้รสรักประจักษ์ใจ”
ตามกลอนข้างต้นที่สุนทรภู่เขียน นักเรียนนักศึกษาคงไม่ได้อ่านเพราะดูวาบหวามเกินไป ปลาอานนท์และเขาพระสุเมรุ ก็คืออวัยวะ ไม่ใช่เกี่ยวอะไรกับแผ่นดินไหว ถ้าจะพูดถึงแผ่นดินไหว ก็คงไหวอยู่บนเตียงจากการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช่เกี่ยวอะไรกับการที่ปลาอานนท์พลิกจึงทำให้แผ่นดินไหวแต่อย่างใด
เราจึงควรเข้าใจเรื่องปลาอานนท์ให้ชัดเจน จะได้ไม่ถูกหลอก ไปแต่งเป็นเรื่องอื่นต่างๆ นานา
You must be logged in to post a comment Login