- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
ปี’68 ไทยพบเด็ก-เยาวชน สูบบุหรี่ไฟฟ้าพุ่ง 12.2%
น่าห่วง! ปี 68 ไทยพบเด็ก-เยาวชน สูบบุหรี่ไฟฟ้าพุ่ง 12.2% เด็ก 6 ใน 10 เคยเห็นโฆษณาบุหรี่ในออนไลน์ ถูกชวนให้ทดลองฟรี เสี่ยงเป็นนักสูบหน้าใหม่-ป่วยโรคซึมเศร้า-ฆ่าตัวตาย สสส. สานพลังภาคีเครือข่าย เจาะลึกบุหรี่ไฟฟ้า ภัยเงียบที่คุณต้องรู้ เด็กสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีโอกาสสูบบุหรี่มวน 3.5 เท่า ชี้ โรงพยาบาลแบกค่ารักษาผู้ป่วยบุหรี่ไฟฟ้าสูง 300 ล้านบาท หวั่นกระทบเศรษฐกิจไทย

ศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวในเวทีเสวนาวิชาการ “บุหรี่ไฟฟ้า ภัยเงียบที่คุณต้องรู้ ก่อนสุขภาพจะพัง” จัดโดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลระยะยาวในโรงพยาบาล และจำนวนประชากรที่สูญเสีย สอดคล้องกับผลการศึกษาการประเมินต้นทุนค่ารักษาพยาบาลจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าเบื้องต้น ปี 2567 โดยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบภาระค่าใช้จ่ายการรักษาระยะยาวจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 4 โรค ได้แก่ 1.โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2.โรคหลอดเลือดสมอง 3.โรคหัวใจขาดเลือด 4.โรคหอบหืด รวมมูลค่ากว่า 306,636,973 บาท
“ผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่เพียงส่งผลต่อภาระค่ารักษาพยาบาลระยะยาว แต่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูบป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยโรคจิตเวช เพราะผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าจะมีภาวะวิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่แล้วจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นได้ง่าย สอดคล้องกับผลการศึกษาการประเมินภาวะความเสี่ยงการเกิดโรคจิตเวชจากบุหรี่ไฟฟ้า ปี 2568 โดยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยภาวะซึมเศร้าสูงถึง 1.58 เท่า เสี่ยงฆ่าตัวตาย 2.05 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า” ศ.พญ.สุวรรณา กล่าว

รศ.ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากผลการศึกษาแบบจำลองต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากบุหรี่ไฟฟ้า ปี 2562-2563 ซึ่งได้รับทุนวิจัยจาก ศจย. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้ผู้สูบมีความเสี่ยงสูบบุหรี่มวนเพิ่มขึ้น 3.5 เท่า และในผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสติดสารนิโคติน เสี่ยงป่วย 4 โรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหอบหืด ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และที่สำคัญส่งผลให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายค่ารักษาของโรงพยาบาล จากแบบจำลองพบว่าผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพศชาย 1 คน หากเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่อายุ 15 ปี ไปจนถึงตลอดชีวิต จะทำให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เป็นจำนวนสูงถึง 2,637,414 บาท สะท้อนให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้านอกจากจะเป็นภัยอันตรายต่อสุขภาพ ยังคงส่งผลกระทบสร้างภาระค่าใช้จ่ายในอนาคตของประเทศด้วย

รศ.ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า นักสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มที่นักสูบจะมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ในปี 2567-2568 นี้ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ สสส. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และภาคีเครือข่าย ทำการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 7 ซึ่งมีการสำรวจเกี่ยวกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของกลุ่มอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปด้วย ข้อมูลเบื้องต้นหลังจากเก็บข้อมูลไปแล้ว 40% พบเด็กและเยาวชน อายุ 15-29 ปี มีแนวโน้มการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จาก 5.8% ในปี 2562 เป็น 12.2% สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่วัยรุ่นอย่างชัดเจนในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย ทุกภาคส่วนจึงต้องรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และส่งเสริมการป้องกันนโยบายหรือมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่นอย่างจริงจัง ซึ่งข้อมูลฉบับสมบูรณ์คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ จะทำให้ทราบสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของคนไทยอย่างละเอียดมากขึ้น

ผศ.ดร.ศรัณญา เบญจกุล รองหัวหน้าภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผลสำรวจการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทย ปี 2565 (Global Youth Tobacco Survey : GYTS) อยู่ท่ามกลางปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการสูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้น เพราะเด็กและเยาวชน 6 ใน 10 เคยเห็นการโฆษณาส่งเสริมการขายบุหรี่ผ่านสื่อออนไลน์ ได้รับผลิตภัณฑ์บุหรี่ทดลองใช้ฟรี เพิ่มสูงขึ้นจาก 7.3% ในปี 2558 เป็น 11.1% ในปี 2565 มีสิ่งของที่มียี่ห้อหรือโลโก้ผลิตภัณฑ์ยาสูบเพิ่มขึ้นจาก 10.5% ในปี 2558 เป็น 12.5% ในปี 2565 รวมถึงสามารถซื้อบุหรี่เป็นมวนได้เพิ่มขึ้น จาก 19.6% ในปี 2558 เป็น 37.4% ในปี 2565 ดังนั้น การควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์ยาสูบในสื่อออนไลน์ จึงมีความสำคัญในการป้องกันและลดอัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งควรส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาสูบอย่างต่อเนื่อง
You must be logged in to post a comment Login