- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
สสส.-ยุวทัศน์ สานพลังภาคีเครือข่าย หยุดอุบัติเหตุเด็ก-เยาวชน เดินหน้าขยายโมเดล 5 มาตรการ 3 จังหวัดระยอง-ขอนแก่น-ชลบุรี

จุดพลังเยาวชน เปลี่ยนถนนไทยให้ปลอดภัย สสส.-ยุวทัศน์ สานพลังภาคีเครือข่าย หยุดอุบัติเหตุเด็ก-เยาวชน เดินหน้าขยายโมเดล 5 มาตรการ 3 จังหวัดระยอง-ขอนแก่น-ชลบุรี สร้างสถานศึกษาปลอดภัยทั่วประเทศ ยกระดับวินัยจราจร หนุนเยาวชนสร้างสรรค์สื่อ ตั้งเป้าเยาวชนไทยตายเป็นศูนย์
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2568 ที่ โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม “365 วันอันตราย : หยุดเด็กตายบนถนน” และแถลงข่าวผลการขับเคลื่อนพื้นที่ต้นแบบความปลอดภัยทางถนนในเด็กและเยาวชน ภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือจังหวัดต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุในสถานศึกษา โดยมีพื้นที่นำร่อง ได้แก่ จ.ระยอง จ.ขอนแก่น จ.ชลบุรี (พัทยา) นอกจากนี้ยังมีการมอบเกียรติบัตรให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนกว่า 20 หน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม และเวทีเสวนานโยบายเพื่อหาแนวทางลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตบนถนนในเด็กและเยาวชน

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า จากข้อมูลของระบบบูรณาการข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน หรือ ข้อมูล 3 ฐาน พบว่าในปี 2567 รถจักรยานยนต์ คือยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คิดเป็น 80% ของยานพาหนะทั้งหมด โดยช่วงวัยที่มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดอยู่ในช่วงวัย 15-19 ปี โดยมีสาเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเร็ว การดื่มแล้วขับ สภาพแวดล้อม สสส. จึงมุ่งเน้นการบูรณาการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับทั้งภาครัฐและเอกชน ในการเก็บข้อมูล รวมไปถึงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยบนถนน เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานศึกษาที่เป็นสถานที่บ่มเพาะความรู้ ระเบียบวินัย การรู้จักหน้าที่ของตนเอง และการเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี มีความรับผิดชอบเคารพวินัยจราจร
“สสส. ขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนนในเด็กและเยาวชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายผ่านการเสริมสร้างความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ปลอดภัย เน้นพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ พร้อมสร้างผู้นำเยาวชนที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมความปลอดภัย โดยสนับสนุน ยท. ดำเนินโครงการต้นแบบในจ.ระยอง จ.ขอนแก่น จ.ชลบุรี (พัทยา) ขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ เช่น การบังคับใช้กฎหมาย พัฒนาทักษะขับขี่ และส่งเสริมทำใบขับขี่อย่างถูกต้อง พร้อมหนุนเสริมกลไกการสื่อสารสร้างการตระหนักรู้ ผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น TikTok มุ่งลดอุบัติเหตุและการสูญเสียในกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างสังคมที่มีวัฒนธรรมการเดินทางปลอดภัยสำหรับทุกคน” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

นายณัฐวรรธน์ พรรังสรรค์ ผู้ตรวจราชการกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า หลายทศวรรษที่ผ่านมาสถานการณ์ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน นับเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต เศรษฐกิจ สังคมไทยมายาวนาน ไทยถูกจัดเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียและอาเซียน โดยภายในปี 2570 ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันตั้งเป้าว่าต้องลดอัตราการเสียชีวิตให้เหลือเพียง 12 คนต่อแสนประชากร แต่ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวยังคงมีแนวโน้มความสูญเสียที่รุนแรง เนื่องจากปี 2567 ที่ผ่านมายังคงพบอัตราผู้เสียชีวิตสูงถึง 17,556 คน เฉลี่ยวันละ 48 คน โดยเฉพาะกลุ่ม “เด็กและเยาวชน” ซึ่งเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคต จากการคาดการณ์ไทยอาจต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์สำคัญอีกกว่า 37,321 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการสูญเสียมหาศาลต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
“เชื่อมั่นกับทุกเครือข่าย ที่ร่วมขับเคลื่อนสนับสนุนการทำงานของคนรุ่นใหม่ รวมไปถึงการหนุนเสริมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อลดอัตราการเจ็บตายบนท้องถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน ให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตบนท้องถนน เพราะเด็กและเยาวชน คือกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต” นายภาสกร กล่าว

นายรวิศุทธ์ คณิตกุลเศรษฐ์ รองเลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) กล่าวว่า จากการถอดบทเรียนมาตรการความสำเร็จของพื้นที่นำร่องที่จังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี 2565 ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 มาตรการ ได้แก่ 1. ส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมาย 2. ประกาศนโยบายสถานศึกษาปลอดภัย 3. พัฒนาองค์ความรู้ด้านการขับขี่และทักษะการขับขี่ 4. ส่งเสริมทำใบอนุญาตขับขี่ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก 5. สนับสนุนการปรับปรุงสภาพแวดล้อม จนนำไปสู่การนำไปใช้จริงในพื้นที่ต้นแบบต่างๆ นับเป็นปีแรกที่ทางสถาบันยุวทัศน์ฯ ขยายพื้นที่ต้นแบบ ทั้งใน จ.ขอนแก่น และจ.ชลบุรี (พัทยา) พบว่าการขับเคลื่อนกิจกรรม ต้องอาศัยความร่วมมือจากต้นทุนพื้นที่ รวมไปถึงความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนมาตรการทั้ง 5 ข้อ รวมไปถึงการเก็บข้อมูลในพื้นที่ต่างๆ ผ่านกระบวนการวิจัยการมีส่วนร่วม เพื่อเก็บข้อมูล และพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมในการสร้างวินัยจราจร จนนำไปสู่การลดจำนวนผู้เสียชีวิตทางถนน ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน
You must be logged in to post a comment Login